การปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ - money exchange
เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน เงินระหว่างตระกุลเงินต่างๆ
หน้าที่ของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
ตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศมีหน้าที่หลักดังนี้คือ
1.หน้าที่การโอนอำนาจแห่งการซื้อ การโอนอำนาจแห่งการชื้อถือได้ว่าเป็นหน้าที่อันจำเป็นของการดำเนินธุรกรรมทางการค้าระหว่างประเทศ เพราะการดำเนินธุรกรรมทางการค้าและการเคลื่อนย้ายของเงินทุนของคู่กรณีต่างอยู่คนละประเทศนั้น และมีหน่วยเงินตราแตกต่างกัน
2. หน้าที่ให้บริการสินเชื่อ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะกินเวลายาวนานพอสมควร ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในเรื่องค่าใช้จ่ายระหว่างสินค้าที่อยู่ในช่วงการเดินทางหรืออยู่ในห้องแสดงสินค้าที่ยังไม่มีลูกค้ามาสั่งชื้อ โดยใช้เครื่องมือทางการเงินบางชนิด เช่น ตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง หรือล็อตเตอร์ออฟเครดิตในการให้สินเชื่อ
3. หน้าที่ในการลดความเสี่ยงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศในบริการในธุรกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เรียกว่า Hedg Facilities เพื่อโอนความเสี่ยงอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนไปยังผู้ชำนาญพิเศษในเรื่องนี้
ผู้มีส่วนร่วมในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
ผู้มีส่วนร่วมในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศอาจแบ่งคราวๆเป็น 5 ประเภทด้วยกัน อันได้แก่
1. กลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินอื่นที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางชื้อขายเงินตราต่างประเทศกลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินอื่นที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดำเนินกิจกรรมทั้งในระหว่างธนาคารและตลาดค้าปลีก กำไรได้มาจากส่วนต่างระหว่างราคาเสนอชื้อและราคาเสนอขาย การแข่งขันระหว่างตัวกลางของปริวรรตเงินตราต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้อัตรากำไรมีอัตราค่อนข้างต่ำ
2.กลุ่มเอกชนและธุรกิจผู้ดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุน กลุ่มเอกชนและธุรกิจได้อาศัยตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งความสำเร็จทางการค้าและการลงทุนของตน กลุ่มเหล่านี้ได้แก่ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ผู้ลงทุนทางการเงินระหว่างประเทศ (International Portfollio Investers) บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Firms) และนักท่องเที่ยว ตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลกลุ่มนี้ นอกจากนี้บุคคลกลุ่มนี้ยังมีความต้องการหลีกเลี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยอัตราที่เรียกว่า Hedging
3. กลุ่มนักเก็งกำไรและผู้ค้าที่ได้กำไรจากส่วนแตกต่างของราคาในแต่ละตลาดในเวลาเดียวกัน จะหากำไรจากตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศโดยตรง แรงจูงใจจึงผิดกับกลุ่มตัวกลางที่ทำหน้าที่บริการลูกค้า สำหรับกลุ่มตัวกลางจะหากำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย (Spread Price) และอาจจะได้กำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคา (General Price Change ) ส่วน Arbitragers จะทำการซื้อขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งในสองตลาดที่มีราคาแตกต่างกันในเวลาเดียวกัน
4. กลุ่มธนาคารกลางและหน่วยงานการคลังของรัฐบาล กลุ่มธนาคารกลางและหน่วยงานการคลังของรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อไม่ให้มีการซื้อขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งมากเกินไป จนกระทบต่อทุนสำรองระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนได้
5. กลุ่มนายหน้าของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ กลุ่มนายหน้าของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศไม่ได้ทำการค้าเงินตราต่างประเทศได้ด้วยตนเอง แต่จะเป็นผู้ประสานระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเท่านั้น โดยมีค่านายหน้าตอบแทน
ที่มา : http://www.econ.neu.ac.th/www/chapter/l ... ail03.htm#หน้าที่ของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ

- บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
- สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
- ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
- ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
- ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
- ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้
บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย
การปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ - money exchange
-
- Administrator
- โพสต์: 2314
- ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 13 ก.ค. 2012 7:27 pm
- ติดต่อ:
การปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ - money exchange

ทำความรู้จัก ระบบ ERP โปรแกรม OpenERP ของฟรีที่บริษัทไหนๆก็ใช้ได้
-
- Administrator
- โพสต์: 2314
- ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 13 ก.ค. 2012 7:27 pm
- ติดต่อ:
Re: การปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ - money exchange
ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ที่เกี่ยวกับ การปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ
เลขที่หนังสือ: กค 0811/05603
วันที่: 13 พฤษภาคม 2541
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรขาดทุนจากการปริวรรตเงินตราของผู้ประกอบ กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65
ข้อหารือ
: แนวทางปฏิบัติกรณีผู้ประกอบการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน กรณีกำไรจากการ
ปริวรรตเงินตรา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง ที่จะถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และมีกรณีใดบ้างที่กำไรจากการปริวรรตเงินตราจะ
ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
แนววินิจฉัย
: กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่จะถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 2.4 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง
การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 นั้น จะต้องเป็นกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่
บริษัทฯ เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
1. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตรา ซึ่งเกิดจากการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่
ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดยตรง ได้แก่ การส่งออกผลิตภัณฑ์ การนำเข้าเครื่องจักร เครื่องมือ
เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบ ตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
2. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการที่บริษัทฯ นำเงินกู้ยืมเงินตรา
ต่างประเทศเข้ามาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
3. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการนำรายได้ จากกิจการที่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุนไปชำระหนี้เงินกู้
4. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการนำเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ เข้า
มาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเฉพาะส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ในวันสุดท้ายของ
รอบระยะเวลาบัญชี ไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และไม่ได้รับ
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เว้นแต่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสามารถพิสูจน์ได้ชัดแจ้งว่า เงินกู้ยืมส่วน
ที่ยังคงเหลืออยู่นั้นมีข้อผูกพันที่จะต้องนำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอย่างแท้จริง
5. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นรายได้ของกิจการ ที่ได้
รับการส่งเสริมการลงทุนหรือของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้เฉลี่ยรายได้นั้นตามส่วนของ
รายได้ของแต่ละกิจการ
ที่มา: http://www.rd.go.th/publish/23061.0.html
เลขที่หนังสือ: กค 0811/05603
วันที่: 13 พฤษภาคม 2541
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรขาดทุนจากการปริวรรตเงินตราของผู้ประกอบ กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65
ข้อหารือ
: แนวทางปฏิบัติกรณีผู้ประกอบการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน กรณีกำไรจากการ
ปริวรรตเงินตรา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง ที่จะถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และมีกรณีใดบ้างที่กำไรจากการปริวรรตเงินตราจะ
ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
แนววินิจฉัย
: กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่จะถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุน และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามข้อ 2.4 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง
การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 นั้น จะต้องเป็นกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่
บริษัทฯ เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
1. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตรา ซึ่งเกิดจากการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่
ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดยตรง ได้แก่ การส่งออกผลิตภัณฑ์ การนำเข้าเครื่องจักร เครื่องมือ
เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบ ตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
2. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการที่บริษัทฯ นำเงินกู้ยืมเงินตรา
ต่างประเทศเข้ามาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
3. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการนำรายได้ จากกิจการที่ได้รับการ
ส่งเสริมการลงทุนไปชำระหนี้เงินกู้
4. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากการนำเงินกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ เข้า
มาใช้ในกิจการตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเฉพาะส่วนที่ยังคงเหลืออยู่ในวันสุดท้ายของ
รอบระยะเวลาบัญชี ไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และไม่ได้รับ
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เว้นแต่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสามารถพิสูจน์ได้ชัดแจ้งว่า เงินกู้ยืมส่วน
ที่ยังคงเหลืออยู่นั้นมีข้อผูกพันที่จะต้องนำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอย่างแท้จริง
5. กรณีกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นรายได้ของกิจการ ที่ได้
รับการส่งเสริมการลงทุนหรือของกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้เฉลี่ยรายได้นั้นตามส่วนของ
รายได้ของแต่ละกิจการ
ที่มา: http://www.rd.go.th/publish/23061.0.html

ทำความรู้จัก ระบบ ERP โปรแกรม OpenERP ของฟรีที่บริษัทไหนๆก็ใช้ได้
ผู้ใช้งานขณะนี้
กำลังดูบอร์ดนี้: 33 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน