การปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ - money exchangeเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน เงินระหว่างตระกุลเงินต่างๆ
หน้าที่ของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
ตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศมีหน้าที่หลักดังนี้คือ
1.หน้าที่การโอนอำนาจแห่งการซื้อ การโอนอำนาจแห่งการชื้อถือได้ว่าเป็นหน้าที่อันจำเป็นของการดำเนินธุรกรรมทางการค้าระหว่างประเทศ เพราะการดำเนินธุรกรรมทางการค้าและการเคลื่อนย้ายของเงินทุนของคู่กรณีต่างอยู่คนละประเทศนั้น และมีหน่วยเงินตราแตกต่างกัน
2. หน้าที่ให้บริการสินเชื่อ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะกินเวลายาวนานพอสมควร ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในเรื่องค่าใช้จ่ายระหว่างสินค้าที่อยู่ในช่วงการเดินทางหรืออยู่ในห้องแสดงสินค้าที่ยังไม่มีลูกค้ามาสั่งชื้อ โดยใช้เครื่องมือทางการเงินบางชนิด เช่น ตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง หรือล็อตเตอร์ออฟเครดิตในการให้สินเชื่อ
3. หน้าที่ในการลดความเสี่ยงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศในบริการในธุรกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เรียกว่า Hedg Facilities เพื่อโอนความเสี่ยงอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนไปยังผู้ชำนาญพิเศษในเรื่องนี้
ผู้มีส่วนร่วมในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ
ผู้มีส่วนร่วมในตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศอาจแบ่งคราวๆเป็น 5 ประเภทด้วยกัน อันได้แก่
1. กลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินอื่นที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางชื้อขายเงินตราต่างประเทศกลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินอื่นที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดำเนินกิจกรรมทั้งในระหว่างธนาคารและตลาดค้าปลีก กำไรได้มาจากส่วนต่างระหว่างราคาเสนอชื้อและราคาเสนอขาย การแข่งขันระหว่างตัวกลางของปริวรรตเงินตราต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้อัตรากำไรมีอัตราค่อนข้างต่ำ
2.กลุ่มเอกชนและธุรกิจผู้ดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุน กลุ่มเอกชนและธุรกิจได้อาศัยตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งความสำเร็จทางการค้าและการลงทุนของตน กลุ่มเหล่านี้ได้แก่ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ผู้ลงทุนทางการเงินระหว่างประเทศ (International Portfollio Investers) บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Firms) และนักท่องเที่ยว ตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลกลุ่มนี้ นอกจากนี้บุคคลกลุ่มนี้ยังมีความต้องการหลีกเลี่ยงอันเกิดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยอัตราที่เรียกว่า Hedging
3. กลุ่มนักเก็งกำไรและผู้ค้าที่ได้กำไรจากส่วนแตกต่างของราคาในแต่ละตลาดในเวลาเดียวกัน จะหากำไรจากตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศโดยตรง แรงจูงใจจึงผิดกับกลุ่มตัวกลางที่ทำหน้าที่บริการลูกค้า สำหรับกลุ่มตัวกลางจะหากำไรจากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย (Spread Price) และอาจจะได้กำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคา (General Price Change ) ส่วน Arbitragers จะทำการซื้อขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งในสองตลาดที่มีราคาแตกต่างกันในเวลาเดียวกัน
4. กลุ่มธนาคารกลางและหน่วยงานการคลังของรัฐบาล กลุ่มธนาคารกลางและหน่วยงานการคลังของรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อไม่ให้มีการซื้อขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งมากเกินไป จนกระทบต่อทุนสำรองระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนได้
5. กลุ่มนายหน้าของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ กลุ่มนายหน้าของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศไม่ได้ทำการค้าเงินตราต่างประเทศได้ด้วยตนเอง แต่จะเป็นผู้ประสานระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเท่านั้น โดยมีค่านายหน้าตอบแทน
ที่มา :
http://www.econ.neu.ac.th/www/chapter/l ... ail03.htm#หน้าที่ของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ