รายได้
รายได้ (Revenue) หมายถึงจำนวนเงินสด ลูกหนี้ สินทรัพย์ สิทธิ หรือผลตอบแทนอื่นที่ธุรกิจได้รับจากการประกอบกิจการก่อนหักรายการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าและหรือการให้บริการ การให้ใช้สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ในลักษณะของดอกเบี้ยรับ ค่าสิทธิ์ และเงินปันผล ซึ่งสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนได้
รายได้จากการประกอบธุรกิจ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.รายได้หลัก (Direct Revenue ) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการดำเนินงานโดยปกติของกิจการซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของการดำเนินธุรกิจที่ได้กำเนิดไว้ในการก่อตั้งกิจการ เรียกอีกอย่างว่า รายได้จากการดำเนินงาน (Operating Revenue) เช่น รายได้ค่าห้องพักของธุรกิจของโรงแรม รายได้ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล รายได้ค่าขายสินค้าของห้างสรรพสินค้า รายได้ค่าอบรมจากบริษัทรับจัดสัมมนา เป็นต้น
2.รายได้อื่น ๆ(Other Revenue) หมายถึง รายได้ที่ไม่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ แต่เป็นรายได้ที่ได้รับมาเนื่องจากการประกอบกิจการซึงเป็นผลพลอยได้จากการดำเนินงาน เช่น รายได้ จากการขายสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่าย (Expense) หมายถึง ต้นทุนของสินค้าหรือบริการที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีผลทำให้สินทรัพย์สิทธิของกิจการลดลง
สามารถแบ่งค่าใช้จ่ายของกิจการได้ดังนี้
1.ต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of Goods Sold) หมายถึง ราคาต้นทุนของสินค้าที่ขายไปซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่กิจการจ่ายไปเพื่อให้สินค่าอยู่ในสภาพพร้อมขาย เช่น ค่าซื้อสินค้า ค่าขนส่งสินค้าเข้า ค่าภาษีศุลกากร เป็นต้น
2.ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า ได้แก่ เงินเดือนของพนักงานขาย ค่าโฆษณา ค่านายหน้า ค่าขนส่งสินค้าให้ลูกค้า เป็นต้น
3.ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrator Expenses) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารงานของฝ่ายริการ เช่น เงินเดือนผู้บริหาร เงินเดือนพนักงานที่ปฏิบัติงานในสำนักงาน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
4.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Other Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายข้างต้น เช่นดอกเบี้ยจ่าย ผลขาดทุนจากราคาหลักทรัพย์ในตลาด ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ เป็นต้น
การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย
ในการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่าย จะต้องพิจารณาว่าเมื่อใดจึงจะถือได้ว่ารายได้หรือค่าใช้จ่ายนั้น ๆและนำรายการที่เกิดขึ้นมาบันทึกบัญชี โดยการพิจารณาขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่กิจการใช้ อันมีผลกระทบต่อจำนวนรายได้และค่าใช้จ่ายที่รายงานในแต่ละงวดบัญชีเกณฑ์ในการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 เกณฑ์ใหญ่ ๆ คือ
1. เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) ตามเกณฑ์นี้กิจการจะบันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินออกไปจริง ๆเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงงวดเวลาที่เกี่ยวข้องในการเกิดรายได้หรือค่าใช้จ่ายนั้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า รายได้ของวดบัญชี หมายถึงจำนวนเงินสดหรือเงินฝากธนาคารที่ได้รับเป็นค่าสินค้าหรือบริการทั้งหมดในงวดบัญชีนั้นเท่านั้นดังนั้นรายได้ตามเกณฑ์เงินสดจะไม่รวมรายได้ที่เกิดจาการขายหรือบริการเป็นเงินเชื่อซึ่งยังไม่ได้รับชำระเงินในงวดบัญชีนี้ แต่จะรวมรายได้จากการขายหรือบริการเป็นเงินเชื่อในงวดบัญชีก่อนที่ได้รับชำระในงวดบัญชีรวมเป็นรายได้ของงวดบัญชีนี้ ค่าใช้จ่ายของงวดบัญชี หมายถึง จำนวนเงินสดหรือเงินฝากธนาคารที่กิจการจ่ายไปทั้งหมดในงวดบัญชีนี้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยไม่คำนึงว่ารายการที่จ่ายไปนั้นก่อให้เกิดรายได้ในงวดบัญชีใด
2. เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basic) หรือเกณฑ์เงินค้าง เกณฑ์พึงรับพึงจ่ายเกณฑ์สิทธิ ตามเกณฑ์พิจารณาการบันทึกบันชีรายได้และค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีต่าง ๆ โดยคำนึงถึงรายได้ได้ที่พึงรับและค่าใช้จ่ายที่พึงจ่าย เพื่อมให้แสดงผลการดำเนินงานของแต่ละงวดบัญชีอย่างเหมาะสม นั่นคื รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีใดก็ให้บันทึกรับรู้เป็นรายได้ของงวดบัญชีนั้น แม้จพยังไม่ได้รับเงินก็ตาม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า รายได้ของงวดบัญชี หมายถึงรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการทั้งหมดในงวดบัญชีนั้นโดยไม่คำนึงว่าจะได้รับเงินมาแล้วหรือไม่ ดังนั้นรายได้ตามเกณฑ์นี้ จึงหมายรวมถึงรายได้ที่เกิดจากการขายหรือให้บริการทั้งที่เป็นเงินสดและเงินเชื่อในงวดบัญชีปัจจุบันซึ่งกิจการยังไม่ได้รับชำระเงิน ค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีหมายถึง เมื่อกิจการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหรือบริการจากบุคคลอื่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้ในงวดบัญชีใดก็ได้ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีนั้นแม้จะยังไม่ได้มีการจ่ายชำระเงินค่าทรัพยากรหรือบริการนั้นก็ตาม
ref: https://www.mdsoft.co.th/