การประกอบธุรกิจโดยทั่วไปมักมีการสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อขายหรือเพื่อใช้ในการผลิต สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซื้อภายในประเทศ
2. ซื้อจากต่างประเทศ
ซึ่งกระบวนการสั่งซื้อโดยทั่วไปจะประกอบด้วย
1. ผู้ซื้อสอบถามราคาสินค้าที่ต้องการจากผู้ขาย (Vender)
2. ผู้ขายทำใบเสนอราคาขายส่งให้ผู้ซื้อ
3. ผู้ซื้อทำใบสั่งซื้อ (Purchase Order)
4. ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ
หากเป็นการสั่งซื้อสินค้าภายในประเทศก็จะไม่มีขั้นตอนยุ่งยากเท่าใดนัก แต่หากสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ มักจะมีขั้นตอนต่างๆ เพิ่มเข้ามา
โดยเฉพาะเรื่องของการชำระเงิน ซึ่งแบ่งมีวิธีการชำระเงินได้ดังนี้
1. การชำระเงินด้วย Letter of credit
การชำระค่าสินค้าด้วย Letter of credit นั้นหรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ที่เป็นวิธีเดียวที่พอจะมีหลักประกันได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้มอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินแล้ว
L/C หรือ Letter of Credit หรือ Documentary Letter of credit หรือ Commercial Documentary letter of Credit
คือ ตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ตามคำสั่งของ ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้ผู้รับประโยชน์ ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับ L/C ในประเทศของผู้ขายตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาหรือธนาคารผู้เปิด L/C ว่าจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในL/C ให้แก่ผู้ขายสินค้าเมิ่ผู้ขายสินค้าได้ส่งสินค้าลงเรือ และได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน ( Negotiation Bank ) ได้ครบถ้วนถูกต้องที่ระบุไว้ใน L/C ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ และกรอบเวลาตามที่ระบุไว้ใน L/C ด้วย
2. การชำระเงินโดยวิธีเรียกเก็บผ่านธนาคาร Bill of collection
คือการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าผ่านธนาคารซึ่งธนาคารผู้เรียกเก็บจะปฏิบัติตามคำสั่งของลูกค้าอย่างเคร่งครัด ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
D/P (Document Against Payment) คือการที่ผู้ขายสินค้าส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าที่ตนเองส่งออกไปให้แก่ผู้ซื้อ ผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนของผู้ซื้อเพื่อเรียกเก็บค่าสินค้าก่อนการส่งมอบเอกสาร
D/A (Document Against Acceptance)
คือการที่ผู้ขายสินค้าส่งเอกสารไปให้แก ่ผู้ซื้อผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศของผู้ซื้อเพื่อแจ้งให้ ผู้ซื้อนำไปออกของก่อนการชำระเงินและจะต้องกำหนดจำนวนวันจ่ายเงินด้วยเสมอ เช่น 30 วัน หรือ 60 วัน แล้วแต่จะตกลงกันเอง
3. การชำระเงินแบบ Open Account
คือการที่ผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อสินค้าตกลงซื้อขายสินค้ากันโดยตรงโดยที่ ผู้ขายสินค้าจะส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อก่อนเมื่อผู้ซื้อรับสินค้าแล้วจึงไปติดต่อกับธนาคาร เพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ตามระยะเวลาที่กำหนด หลังจากที่ได้รับสินค้าหรือเห็นเอกสาร ตามแต่จะตกลงกันแล้ว ซึ่งจะเป็นการโอนโดยทางตั๋วเงินหรือดราฟท์ การซื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารจะเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีการโอนเงินค่าสินค้าเท่านั้น
4. การชำระเงินแบบ Consignment
คือการที่ผู้คือการที่ผู้ขายสินค้า และผู้ซื้อสินค้าตกลงซื้อขายสินค้ากันโดยตรง โดยที่ผู้ขายสินค้าจะส่งสินค้าไปให้ ผู้ซื้อก่อนเมื่อผู้ซื้อขายสินค้าได้แล้ว จึงไปติดต่อธนาคารเพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ซึ่งเป็นการโอนเงินโดยทางตั๋วเงิน หรือดราฟท์ การชำระเงินประเภทนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การฝากขาย แต่ก็ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเช่นเดียวกัน Open Account เพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารจะเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อมีการโอนเงินค่าสินค้าเท่านั้น
อ้างอิงข้อมูล : Trade Point Thailand

- บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
- สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
- ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
- ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
- ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
- ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้
บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย
การจ่ายชำระเงินในกรณีที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ
-
- โพสต์: 5
- ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 04 ส.ค. 2014 10:05 am
ผู้ใช้งานขณะนี้
กำลังดูบอร์ดนี้: 32 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน