เตรียมพิจารณาแนวทางช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ 18 ม.ค. 2013 11:28 am
นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยภายเป็นประธานเปิดโครงการ “กิจกรรมการประกวดที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 56” ว่า เตรียมเสนอให้กระทรวงอุตาหกรรมพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ โดยจัดโครงการสินเชื่อเพื่อการเสริมสภาพคล่องในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบการนำเงินกู้ดังกล่าวไปจ่ายค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น และบริหารจัดการในองค์กร เนื่องจากเอสเอ็มอีหลายรายเริ่มประสบปัญหาเรื่องสถานะทางการเงินบ้างแล้ว
“หากมีเงินในการเสริมสภาพคล่องก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่เอสเอ็มอีได้มาก โดยกรมฯจะเร่งเสนอกระทรวงให้เร็ว เพื่อให้ที่ประชุมครม. ได้พิจารณาต่อไปพร้อมๆ กับมาตรการอื่นของกระทรวงที่คาดว่าจะมีหลายมาตรการทั้งเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ การหาตลาดสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ”
สำหรับการหาตลาดสินค้านั้นล่าสุดได้ประสานงานกับตัวแทนของผู้ประกอบการค้าส่งที่มีเครือในระดับ 10,000 รายช่วยกันรับสินค้าจากเอสเอ็มอีเพื่อกระจายไปตามตลาดต่างๆ ของประเทศ เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดโบ๊เบ๊ เป็นต้น
นอกจากนี้กรมฯยังเร่งส่งเสริมศักยภาพที่ปรึกษาอุตสาหกรรม เพื่อให้บรรดาที่ปรึกษาสามารถให้คำแนะนำผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการรับมือกับเศรษฐกิจและรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 รวมถึงการปรับกระบวนการต่อสู้กับต้นทุนที่สูงขึ้น
นายโสภณ กล่าวว่า กรมฯ ยังเร่งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการใหม่ในโครงการ “เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่” หรือ เอ็นอีซี ให้มีความสามารถในการแข่งขันกับต้นทุนที่สูงและการรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงในอนาคตด้วย ซึ่งจะให้โอกาสธุรกิจที่เคยล้มละลายหรือปิดกิจการเข้ามาร่วมในโครงการดังกล่าวด้วย ขณะเดียวกันก็จะติดตามผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเข้าไปช่วยเหลือในกรณีที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและต้นทุนที่สูงขึ้น
ที่มา : dailynews.co.th
“หากมีเงินในการเสริมสภาพคล่องก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่เอสเอ็มอีได้มาก โดยกรมฯจะเร่งเสนอกระทรวงให้เร็ว เพื่อให้ที่ประชุมครม. ได้พิจารณาต่อไปพร้อมๆ กับมาตรการอื่นของกระทรวงที่คาดว่าจะมีหลายมาตรการทั้งเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพ การหาตลาดสินค้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ”
สำหรับการหาตลาดสินค้านั้นล่าสุดได้ประสานงานกับตัวแทนของผู้ประกอบการค้าส่งที่มีเครือในระดับ 10,000 รายช่วยกันรับสินค้าจากเอสเอ็มอีเพื่อกระจายไปตามตลาดต่างๆ ของประเทศ เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดโบ๊เบ๊ เป็นต้น
นอกจากนี้กรมฯยังเร่งส่งเสริมศักยภาพที่ปรึกษาอุตสาหกรรม เพื่อให้บรรดาที่ปรึกษาสามารถให้คำแนะนำผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการรับมือกับเศรษฐกิจและรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 รวมถึงการปรับกระบวนการต่อสู้กับต้นทุนที่สูงขึ้น
นายโสภณ กล่าวว่า กรมฯ ยังเร่งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการใหม่ในโครงการ “เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่” หรือ เอ็นอีซี ให้มีความสามารถในการแข่งขันกับต้นทุนที่สูงและการรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงในอนาคตด้วย ซึ่งจะให้โอกาสธุรกิจที่เคยล้มละลายหรือปิดกิจการเข้ามาร่วมในโครงการดังกล่าวด้วย ขณะเดียวกันก็จะติดตามผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเข้าไปช่วยเหลือในกรณีที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและต้นทุนที่สูงขึ้น
ที่มา : dailynews.co.th