รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

ผ้าทอกระเหรี่ยง สินค้าเผ่าปกากะญอ ยกระดับขึ้นในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ

รวมข่าวสารเกี่ยวกับ ธุรกิจ ความเคลื่อนไหวทางด้านธุรกิจที่สำคัญๆ แบ่งปันกันได้ที่หมวดนี้
Yamachita
โพสต์: 448
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ 31 ต.ค. 2012 8:20 pm

ผ้าทอกระเหรี่ยง สินค้าเผ่าปกากะญอ ยกระดับขึ้นในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ

โพสต์โดย Yamachita » อังคาร 18 ธ.ค. 2012 10:15 am

[center]รูปภาพ[/center]

ผ้าทอกะเหรี่ยง สินค้าพื้นบ้านของชนเผ่าปกากะญอ ซึ่งเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดตาก และความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอ ทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวมักจะซื้อผ้าทอกะเหรี่ยงกลับมาเป็นของฝาก และด้วยความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์นี่เองได้เป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนาและยกระดับผ้าทอกะเหรี่ยงขึ้นมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ

ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ผ้าทอกะเหรี่ยงเป็นภูมิปัญญาการทอผ้ากี่เอว ด้วยเทคนิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชาวกะเหรี่ยงเผ่าปกากะญอ ซึ่งเป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดตาก มีการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวด้วยการทอผ้า ที่เรียกว่า การกี่เอว ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์สูง มีการสืบทอดมายาวนานกว่าร้อยปี โดยครั้งเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ได้มีพระราชดำรัสให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผ้ากะเหรี่ยง เพื่อการรักษาไว้ซึ่งศิลปะการทอผ้าด้วยกี่เอวที่ถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะแห่งเดียวในโลก พร้อมมุ่งหวังให้ราษฎรกะเหรี่ยงเกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และมีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

[center]รูปภาพ[/center]

ดังนั้น เพื่อเป็นการ “สร้าง และกระตุ้น” ให้ราษฎรกะเหรี่ยงเกิดความตระหนัก ความรัก ความหวงแหน ในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ พร้อมทั้งสามารถนำทรัพย์สินทางปัญญานั้นมาสู่การพาณิชย์ เพื่อเป็นการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้มีการพัฒนาศักยภาพผ้าทอกะเหรี่ยงด้วยแนวคิด “การตลาดนำการผลิต”

สำหรับการทำงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการเข้าไปพัฒนาผ้าทอกะเหรี่ยงนั้นได้เริ่มทำกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนมาถึงขณะนี้เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี โดยเข้าไปพัฒนาในเรื่องของการผลิตผ้าทอออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถนำมาวางจำหน่ายได้ตรงตามความต้องการของตลาด รวมถึงการทำการตลาดแบบครบวงจร ซึ่งสร้างการรับรู้ให้แก่บุคคลทั่วไป และยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ โดยรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ทาง กสอ.ได้เข้าไปพัฒนา ประกอบด้วย เสื้อผ้าในรูปแบบที่เป็นสากล เครื่องประดับตกแต่ง กระเป๋า ของใช้บนโต๊ะอาหาร หมอน และตุ๊กตานานาชนิด ซึ่งการทำงานครั้งนี้ได้ดีไซเนอร์จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาช่วยด้านงานออกแบบ โดยจุดมุ่งเป้าเพื่อให้สินค้ามีความเป็นอินเตอร์ และต้องการจะแสดงศักยภาพของผ้ากะเหรี่ยงให้เป็นที่ยอมรับพร้อมแข่งขันในตลาดโลกด้วย

[center]รูปภาพ[/center]

ทั้งนี้ การทำงานในครั้งนี้ กสอ.ได้นำกุญแจความสำเร็จ 9 ขั้นตอนเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาผ้าทอกะเหรี่ยงสู่ผลลัพธ์ที่ได้ ได้แก่ 1. ปรับพื้นฐานความรู้ สู่การสร้างความพร้อม 2. การอบรมเพิ่มทักษะด้านการบริหารจัดการ ในหลักสูตร “การเพิ่มทักษะการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน” 3. การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร “เทคนิคการย้อมสีธรรมชาติ” เพื่อสร้างจุดขายให้แก่สินค้า 4. ศึกษาดูงานในอุตสาหกรรมใกล้เคียงที่ประสบความสำเร็จจากการส่งเสริมโดย กสอ. ณ จังหวัดเชียงใหม่ และสุโขทัย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ 5. การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร “เทคนิคการเคลือบสีและลดการตกของสี” เพื่อสร้างจุดเด่น ลบจุดด้อยของสินค้า

และ 6. การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร “การเพิ่มทักษะด้านการทอด้วยกี่เมือง” เพื่อสร้างความชำนาญรองรับความต้องการจำนวนมากของผู้บริโภค 7. การอบรมเพิ่มทักษะด้านการตัดเย็บ เป้าหมายสู่การสร้างความหลากหลายของสินค้า 8. ทดลองตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยง เพื่อฟังกระแสของผู้บริโภคในโค้งสุดท้ายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดสูงสุด 9. ขั้นสุดท้ายกับการพัฒนาการออกแบบและจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากผ้าทอกะเหรี่ยง สู่การวางเป้าหมายตลาดให้เป็นผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้า กระเป๋า ของใช้ และผลิตภัณฑ์ Home Textile ที่ใช้ได้ทุกวัน สำหรับลูกค้าระดับกลาง ประชาชนทั่วไป และเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงานตอนต้น

การทำงานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สสท.) อีกทั้งยังได้นักออกแบบชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่นมาร่วมออกแบบเสื้อผ้าสำหรับสุภาพสตรี เช่น ชุดเดรส เสื้อคลุมสไตล์ญี่ปุ่น และของใช้สำหรับผู้ชาย ได้แก่ กระเป๋าเดินทาง และหมวก ฯลฯ


ที่มา : manager.co.th

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 60 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน