กฎหมายภายในซึ่งเป็นแม่บทที่เกี่ยวกับธุรกิจของไทย
กฎหมายภายในซึ่งเป็นแม่บทที่เกี่ยวกับธุรกิจของไทย คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และแม้จะไม่ได้แยกไว้ชัดเจนว่าอะไรคือ กฎหมายในส่วนแพ่งและอะไรคือหมายในส่วนพาณิชย์ แต่พอเข้าใจได้กว้างๆ ว่า ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ในเชิงการค้า เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ทางครอบครัวหรือมรดกจะเป็นเรื่องในทางแพ่ง แต่ถ้าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะต่างตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องในทางพาณิชย์ เช่น ซื้อขาย เช่าทรัพย์ จ้างแรงงาน จ้างทำของ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่จัดเป็นทางพาณิชย์ จะยังไม่ถือว่าเป็นกฎหมายธุรกิจโดยอัตโนมัติ เพราะคำว่า "ธุรกิจ" มีความหมายที่เป็นปกติวิสัยในเชิงการค้าหากำไรไม่ใช่เป็นเพียงครั้งคราว
กฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ
มีกฎหมายบางฉบับที่นิยามคำว่า "ธุรกิจ" ไว้ เช่น พระราชบัญญัติการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 25421 โดยนิยามคำนี้ไว้ ในมาตรา 4 ให้ หมายความว่า "การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอย่างอื่นเป็นการค้า” คำนิยามนี้ตรงกับคำว่า "ธุรกิจ" อังกฤษและสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีระบบกฎหมาย Common Law ไม่ใช่ Civil Law เหมือนประเทศในภาคพื้นยุโรปและไทย ในระบบอังกฤษและอเมริกา แต่เดิมคำว่า “Commercial Law” ไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ คงใช้ในความหมายที่ว่าเป็นกฎหมายพาณิชย์ทั่วไปเหมือนกับที่เราเรียกขานกฎหมายส่วนนี้ของเราว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ สหรัฐและอังกฤษเริ่มใช้คำว่า "Commercial Law" ในความหมายที่จำกัดมากขึ้น สำหรับสหรัฐมีองค์กรหนึ่งที่เรียกว่า The American Law Institute และ National Conference of Commissioners on Uniform State Laws ได้ร่วมกันจัดทำ Uniform Commercial Code เป็นรูปประมวลกฎหมายขึ้นมาเมื่อ ค.ศ.1951 และต่อมามีการแก้ไขปรับปรุง โดย 1972 Official Text คำว่า "commercial" ถูกนำมาใช้ในความหมายของการค้า อันเป็นปกติวิสัย ซึ่งใกล้เคียงกับคำว่า "ธุรกิจ" ดังกล่าวข้างต้น
บทบัญญัติใน Uniform Commercial Code ดังกล่าวข้างต้น มีในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ ซื้อขาย (Sales) ตราสารทางการค้า (Commercial Papers) ธนาคารกับการเรียกเก็บเงินตามตั๋ว (Bank Deposit and Collection) เลตเตอร์ออฟเครดิต(Letter of Credit) ใบรับคลังสินค้า (Warehouse Receipts) บิลออฟเลดิ้ง (Bill of Lading) หลักทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment Securities) ธุรกรรมที่มีหลักประกัน(Secured Transactions) สหรัฐอเมริกาประกอบด้วยมลรัฐที่มีระบบกฎหมายของตนเองเป็นเอกเทศ จึงมีส่วนที่ผิดแผกแตกต่างกัน วัตถุประสงค์ของจัดทำ Uniform Commercial Code ก็เพื่อให้เกิดเป็นแบบฉบับของกฎหมายธุรกิจที่มลรัฐแต่ละรัฐไปบัญญัติเป็นกฎหมายภายในของตนซึ่งส่วนใหญ่ต่างก็รับไปออกเป็นกฎหมายภายในของรัฐตนแล้ว ทั้งนี้ เพราะต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่าถ้ากฎหมายภายในของแต่ละมลรัฐในเรื่องนี้มีความสอดคล้องกัน ย่อมเกิดความสะดวกและจะเป็นประโยชน์มหาศาลในการทำธุรกิจกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับอังกฤษ ซึ่งเป็นแม่แบบของ Common Law ได้พัฒนาระบบกฎหมายของตนขึ้น ให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาโดยตลอด แม้รูปแบบกฎหมายจะไม่ได้แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่เหมือนกับ Uniform Commercial Code ของสหรัฐ แต่ในวงการนิติศาสตร์ซึ่งมีทั้งนักกฎหมายทางวิชาการและทางด้านปฏิบัติได้จัดทำตำรา รวบรวมหลักกฎหมายและประมวลหลักปฏิบัติแบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ กำหนดหัวข้อเป็นเรื่องๆเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจง่ายทั้งทางด้านการศึกษาและปฏิบัติ ตำรากฎหมายธุรกิจของอังกฤษซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปมีอยู่มาก
พึงเข้าใจด้วยว่าธุรกิจการค้าเป็นกิจการที่มีการแข่งขันกันอย่างสูง จึงมีความคิดกันในวงการตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่คู่กรณีแก่คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง วิธีการใดจะอำนวยความสะดวกให้แก่คู่สัญญาได้มากที่สุด เมื่อนักธุรกิจเห็นช่องทางควรจะทำอย่างไรแล้ว ก็จะลองทำกันไปก่อน หากเกิดปัญหาก็คิดหาทางแก้ไขกันภายหลัง ด้วยเหตุผลนี้เอง ธุรกิจจึงนำหน้ากฎหมายเสมอประเพณีทางการค้ามักจะเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงจะมีกฎหมายมารองรับให้เกิดความชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น เหตุการณ์เช่นนี้เป็นมาแต่ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าวาณิชย์ระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่าประเพณีระหว่างประเทศในหลายเรื่อง เป็นต้นกำเนิดของหลักกฎหมายธุรกิจหลายต่อหลายแขนงด้วยกัน แม้ในปัจจุบันวิธีปฏิบัติรวมทั้งกฎหมายธุรกิจในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีใช้กันแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ได้นำมาปฏิบัติในประเทศไทยแล้วเป็นบางเรื่อง ส่วนจะมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายรองรับหรือไม่เมื่อใด อาจถือว่าเป็นปัญหาทางด้านการเมืองมากกว่า เมื่อความจำเป็นมีถึงขนาด รัฐบาลคงจะนิ่งเฉยไม่ได้และต้องออกกฎหมายมารองรับในชั้นที่สุดคำอธิบายนี้จะได้หยิบยกบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับธุรกิจเอกชนขึ้นกล่าวพอสมควร
กฎหมายที่ใช้ต่อความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนในทางระหว่างประเทศ
แม้ว่ากฎหมายภายในของแต่ละประเทศ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย Commercial law ของมลรัฐในสหรัฐและของอังกฤษ อาจถือว่าเป็นพื้นฐานกฎหมายธุรกิจของแต่ละประเทศในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนในทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักในเรื่อง "สัญญา" แต่ธุรกิจที่เติบโตจริงๆ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติแตกแยกออกไปอีกมากได้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศคำว่า "ต่างประเทศ" ในที่นี้ใคร่ขอให้ความหมายเพียงว่า เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีระบบกฎหมายเอกชนแตกต่างจากอีกพื้นที่หนึ่ง แม้จะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของรัฐเดียวกัน เช่น สหรัฐที่มีระบบกฎหมายเอกชนแตกต่างกันในแต่ละมลรัฐ ระบบกฎหมายอังกฤษ (English law) ซึ่งใช้ในพื้นที่ที่เป็น England กับ Wales แต่ไม่รวม Scotland ซึ่งมีระบบกฎหมายของตนเองต่างหากการที่จะทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจึงจำเป็นต้องทราบพื้นฐานกฎหมายลักษณะแม้ว่ากฎหมายภายในของแต่ละประเทศ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย Commercial law ของมลรัฐในสหรัฐและของอังกฤษ อาจถือว่าเป็นพื้นฐานกฎหมายธุรกิจของแต่ละประเทศในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนในทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักในเรื่อง "สัญญา" แต่ธุรกิจที่เติบโตจริงๆ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติแตกแยกออกไปอีกมากได้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศคำว่า "ต่างประเทศ" ในที่นี้ใคร่ขอให้ความหมายเพียงว่า เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีระบบกฎหมายเอกชนแตกต่างจากอีกพื้นที่หนึ่ง แม้จะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของรัฐเดียวกัน เช่น สหรัฐที่มีระบบกฎหมายเอกชนแตกต่างกันในแต่ละมลรัฐ ระบบกฎหมายอังกฤษ (English law) ซึ่งใช้ในพื้นที่ที่เป็นEngland กับ Wales แต่ไม่รวม Scotland ซึ่งมีระบบกฎหมายของตนเองต่างหากการที่จะทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจึงจำเป็นต้องทราบพื้นฐานกฎหมายลักษณะ
ที่มา : archanwell.org

- บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
- สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
- ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
- ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
- ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
- ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้
บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย
รู้จักกฎหมายประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
-
- โพสต์: 393
- ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 06 ต.ค. 2012 10:11 am
ผู้ใช้งานขณะนี้
กำลังดูบอร์ดนี้: 20 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน