รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

ความรู้เกี่ยวกับเช็ค - เช็คจ่ายผู้ถือ [BEARER CHEQUE] - เช็คจ่ายตามคำสั่ง [ORDE

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ การเงิน การบัญชี งานการผลิด โรงงาน ระบบคลังสินค้า กฏหมาย
pimkuan
โพสต์: 93
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 03 มี.ค. 2014 3:34 pm

ความรู้เกี่ยวกับเช็ค - เช็คจ่ายผู้ถือ [BEARER CHEQUE] - เช็คจ่ายตามคำสั่ง [ORDE

โพสต์โดย pimkuan » ศุกร์ 14 มี.ค. 2014 12:16 pm

เช็ค คืออะไร
ตามประมาลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 21 หมวด 4 เช็ค มาตร 987 ได้ให้คำจำกัดความของเช็คไว้ว่า
“ อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน “
เช็คที่ธนาคารต่าง ๆ ในบ้านเราจัดพิมพ์ มีอยู่ 2 แบบ คือ

เช็คจ่ายผู้ถือ [BEARER CHEQUE]
เช็คจ่ายตามคำสั่ง [ORDER CHEQUE]


เช็คจ่ายผู้ถือ

เช็คจ่ายผู้ถือ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เช็คผู้ถือ” คือเช็คที่ทางธนาคารต่าง ๆ ออกแบบไว้เพื่อจุดประสงค์ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อผู้รับเงินหรือจะไม่ระบุชื่อผู้รับเงินก็ได้
ธนาคารในบ้านเราได้ออกแบบเช็คจ่ายผู้ถือ โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่ช่องว่างที่ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คกรอกเพื่อระบุผู้รับเงินดังนี้ “จ่าย…………………………………………………….หรือผู้ถือ[or bearer]"
เช็คแบบนี้ผู้สั่งจ่ายจะสั่งจ่ายโดยไม่กรอกอะไรลงในช่องว่าง “จ่าย…………………..หรือผู้ถือ “ เพียงแต่กรอก จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวหนังสือแล้วลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ก็ถือว่าเช็คสมบูรณ์แล้ว
เช็คจ่ายผู้ถือ 1.jpg


หรือกรอกคำว่า “เงินสด” ลงในช่องว่าง “จ่าย………………………หรือผู้ถือ” ก็มีผลเช่นเดียวกัน
เช็คจ่ายผู้ถือ 2.jpg


แม้จะกรอกซื่อ นามสกุล ผู้รับเงินลงไปในช่องว่าง “จ่าย……………………หรือผู้ถือ” โดยไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก ก็ยังเป็นเช็คผู้ถืออยู่ กรณีนี้หมายความว่า จ่ายให้กับผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในเช็ค หรือ ผู้ถือก็ได้
เช็คจ่ายผู้ถือ 3.jpg


การสั่งจ่าย “เช็คจ่ายผู้ถือ” โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเงินในช่องว่าง “ จ่าย…………………………หรือผู้ถือ “ และยังขีดฆ่าคำว่า ”หรือผู้ถือ “ ออก เช็คฉบับนี้จะกลายเป็นเช็ค “จ่ายตามคำสั่ง ” ทันที ถ้านำไปขึ้นเงินก็จะถูกปฏิเสธจากธนาคาร เพราะเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย(ไม่มีชื่อผู้รับเงิน)
เช็คไม่สมบูรณ์ 1.jpg


หรือเขียนคำว่า “เงินสด” ลงในช่องว่าง “ จ่าย……………………..หรือผู้ถือ “ แล้วขีดฆ่าคำว่า “ หรือผู้ถือ “ ออก เช็คฉบับนี้ก็กลายเป็นเช็ค “ จ่ายตามคำสั่ง “ เช่นกัน แต่เป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามกฏหมาย เพราะว่า คำว่า “เงินสด” ไม่ใช่ชื่อผู้รับเงิน
เช็คไม่สมบูรณ์ 2.jpg
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้

pimkuan
โพสต์: 93
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 03 มี.ค. 2014 3:34 pm

Re: ความรู้เกี่ยวกับเช็ค

โพสต์โดย pimkuan » ศุกร์ 14 มี.ค. 2014 12:22 pm

เช็คจ่ายตามคำสั่ง

เช็คจ่ายตามคำสั่ง หมายถึง เช็คที่ต้องระบุชื่อผู้รับเงินไว้ในเช็คให้ถูกต้องครบถ้วน การนำเช็คจ่ายตามคำสั่งที่ยังไม่ระบุชื่อผู้รับเงินไปขอขึ้นเงินกับธนาคาร จะถูกปฏิเสธการจ่ายเงินจากธนาคารทันที เพราะเป็นเช็คที่มีรายการไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามกฏหมาย ข้อนี้ก็มีกฎหมายรับรองไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 988 ซึ่งมีใจความอยู่ว่า
“อันเช็คนั้น ต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(๑) คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
(๒) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
(๓) ชื่อ หรือยี่ห้อสำและนักของธนาคาร
(๔) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
(๕) สถานที่ใช้เงิน
(๖) วันและสถานที่ออกเช็ค
(๗) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ดังนั้นเวลาจะเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินให้ใคร ต้องเขียนซื่อ นามสกุล ของผู้รับเงิน ลงในช่องว่าง “จ่าย……………………………..หรือตามคำสั่ง “ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ มิฉะนั้นเมื่อนำเช็คไปขอขึ้นเงินจะถูกปฏิเสธการจ่ายเงินจากธนาคาร

เขียนชื่อ นามสกุล ผู้รับเงิน ในช่องว่าง “ จ่าย…………………………หรือตามคำสั่ง” แล้วขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง “ ออก เพื่อให้เป็นเช็คผู้ถือไม่ได้นะครับ เช็คฉบับนี้ยังคงเป็น “เช็คจ่ายตามคำสั่ง “อยู่ การส่งมอบหรือการเปลี่ยนมือต้องทำตามเงื่อนไขของ “ เช็คจ่ายตามคำสั่ง “
เช็คจ่ายตามคำสั่ง 1.jpg
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้

pimkuan
โพสต์: 93
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 03 มี.ค. 2014 3:34 pm

Re: ความรู้เกี่ยวกับเช็ค

โพสต์โดย pimkuan » ศุกร์ 14 มี.ค. 2014 12:34 pm

เช็คขีดคร่อมและเช็คไม่ขีดคร่อมมีความหมายว่าอย่างไร

เช็คขีดคร่อม หมายถึง เช็ค ที่เขียนเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ด้านหน้าเช็ค เป็นการแสดงให้ธนาคารรับฝากเข้าบัญชีของผู้ทรงเช็คเท่านั้น ผู้ทรงเช็คหมดสิทธิ์ที่จะขอเบิกเงินสดจากธนาคาร
ผู้ทรงเช็คขีดคร่อมจึงไม่สามารถนำเช็คมาขอเบิกเงินสดตามเช็คนั้นได้ในทันที จะต้องนำฝากเข้าบัญชีเงินฝากของตนที่ได้เปิดไว้กับธนาคารแล้วให้ธนาคารผู้รับฝากเป็นผู้ไปเรียกเก็บเงินให้เท่านั้น
เช็คไม่ขีดคร่อม หมายถึง เช็ค ที่ผู้ทรงเช็คสมารถนำมาขอเบิกเงินสดตามเช็คจากธนาคารได้เลย
คิดว่าพอจะทราบความหมายกันแล้วว่า เช็คทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมใช้พอ ๆ กัน แต่ถ้าในทางธุรกิจแล้วจะนิยมใช้เช็คขีดคร่อมกันมากกว่า
เช็คไม่ขีดคร่อม ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนมากนัก การใช้เช็คชนิดนี้ให้พิจารณาให้ถูกต้องตามเงื่อนไขของกฎหมายเรื่องเช็คทั่ว ๆ ไป

เช็คขีดคร่อม และมีข้อความ A/c Payee Only หมายความว่า เช็คฉบับนี้ไม่อาจโอนต่อไปได้ด้วยการสลักหลัง การนำฝากเข้าบัญชีธนาคารก็ต้องนำฝากเข้าบัญชีของผู้ที่มีชื่อระบุไว้ที่ด้านหน้าเช็คเท่านั้น (การขีดคร่อมแบบนี้ห้ามนำไปใช้กับเช็คจ่ายผู้ถือที่ไม่ระบุชื่อผู้รับเงินหรือเช็คจ่ายผู้ถือทีเขียนคำว่า “ เงินสด” ไว้ที่ช่องว่าง “ จ่าย………………หรือผู้ถือ ” ถ้าขีดคร่อมเช็ค"จ่ายผู้ถือ" แบบนี้แล้วนำเช็คไปฝากเข้าบัญชีธนาคาร ธนาคารจะปฏิเสธการรับฝากทันที เพราะไม่มีชื่อตามบัญชีที่ด้านหน้าเช็ค หรือกรณีเขียนระบุ “เงินสด” ธนาคารจะปฏิเสธการรับฝากเช่นกัน เพราะคำว่า “เงินสด”ไม่ใช่ชื่อคน และยังทำให้เช็คฉบับนี้เสียไปเลย เพราะจำนำไปเบิกเงินสดอย่างเช็คจ่ายผู้ถืออีกไม่ได้ )
เช็คขีดคร่อม 1.jpg


ถ้าขีดเส้นสองเส้นในแนวขนานไว้เฉย ๆ โดยไม่เขียนอะไร หมายความว่า เช็คฉบับนี้จะนำมาขอเบิกเงินสดไม่ได้ ต้องนำฝากเข้าบัญชีธนาคารเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเช็ค “ จ่ายผู้ถือ “ หรือเช็ค “ จ่ายตามคำสั่ง
เช็คขีดคร่อม 2 .jpg





การออกเช็คที่เป็นความผิดทางอาญา

การออกเช็คโดยไม่ระมัดระวัง ในบางครั้งอาจมีความผิดในทางอาญาได้ เรื่องนี้ได้บัญญัติไว้ชัด ในพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
“ มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
(๒) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
(๓) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชี อันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
(๔) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
(๕) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินนั้นโดยเจตนาทุจริต
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ “




ข้อมูลท้้งหมดที่ยกตัวอย่างมาเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.junghoo.com/index.php?lay=sh ... 39&Ntype=3
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้


ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 23 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน