รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ การเงิน การบัญชี งานการผลิด โรงงาน ระบบคลังสินค้า กฏหมาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
nipon09
โพสต์: 43
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 27 ต.ค. 2014 1:03 pm
ติดต่อ:

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

โพสต์โดย nipon09 » พฤหัสฯ. 30 ต.ค. 2014 12:16 pm

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย


ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินหักออกจากเงินได้ก่อนจ่ายให้แก่ผู้รับ โดยที่ผู้จ่ายเงินจะมีหลักฐานที่มีชื่อเรียกว่า "หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย" ให้แก่ผู้รับไว้เป็นหลักฐาน

ตัวอย่างใบหัก ณ ที่จ่าย.jpg


ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. บรรเทาภาระภาษี ทางรัฐต้องการเบาเทาภาระทางภาษีให้กับเราโดยการหักไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นปัญหาที่จะต้องชำระภาษีครั้งละมากๆ ในตอนสิ้นปี ในตอนนั้นเราอาจจะมีไม่พอที่จะชำระก็ได้ ซึ่งคล้ายการผ่อนชำระ แท้ที่ต้องชำระทั้งหมดเป็นก้อนใหญ่ตอนสิ้นปี
ให้ชำระเป็นแต่ละครั้งที่รับเงินแทน
2. ให้รัฐมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่ำเสมอ ภาษีเป็นรายได้ของทางรัฐทางหนึ่ง เพื่อที่รัฐจะนำรายได้นี้ไปพัฒนาประเทศต่อไป
3. ป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี เนื่องจากรัฐมีข้อมูลที่จะตรวจสอบได้ ทางหนึ่งก็จากรายงานภาษีที่ผู้ประกอบจะต้องนำส่งทุกเดือน

เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย
1. ต้องเป็นการเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป คือ การจ่ายเงินได้พึงประเมิน จำนวนตามสัญญาหนึ่งๆ มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้น แม้การจ่ายนั้นจะแบ่งจ่ายครั้งหนึ่งไม่ถึง 1,000 บาท ก็ตาม โดยที่ 1,000 นั้น เป็นเงินได้ที่จ่ายที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)
2. การหัก ณ ที่จ่ายใช้เกณฑ์เงินสด คือจ่ายเงินวันใดก็หักภาษีหัก ณ ที่จ่ายวันนั้น ถ้านอกเหนือจากการจ่ายเป็นเงินสด เช่นจ่ายเป็นเช็คหรือตั๋วเงิน ให้หัก ณ ที่จ่าย ตามวันที่บนเช็คหรือตั๋วเงิน แม้ว่าจะมีผู้มารับวันใดก็ตาม
3. การออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย หน้าที่ของผู้จ่ายเงิน จะต้องออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย มอบต้นฉบับให้ผู้รับเงิน สำเนาผู้จ่ายเงินเก็บไว้เป็นหลักฐาน (บันทึกบัญชี และทำรายงานเืพื่อยื่นภาษี)
4. การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย จะต้องนำส่ง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้นภายใน 7 วัน
นับตั้งแต่วันที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้แล้วหรือยัง (เช่นกรณี เช็ค ยังไม่มีคนมารับ)

วิธีคิดภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เมื่อมีการจ่ายเงินได้ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ให้นำจำนวนเงินได้นั้นที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คูณกับอัตราภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
ยกเว้น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ซึ่งมีวิธีคำนวณแตกต่างกัน (ควรศึกษาเพิ่มเติม)

ตัวอย่างอัตราภาษี ตามเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 - 8 เช่น

ค่าบริการ 3 %
ค่าเช่า 5 %
ค่าขนส่ง 1 %
ค่าโฆษณา 2 %
ค่าจ้างทำของ 3 %


ที่มา : http://goldhimm.blogspot.com, http://www.pattanakit.net, http://tax.bugnoms.com, http://www.buncheeaudit.com
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 35 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน