รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานสินค้า

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ การเงิน การบัญชี งานการผลิด โรงงาน ระบบคลังสินค้า กฏหมาย
openerp_docman
โพสต์: 393
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 06 ต.ค. 2012 10:11 am

การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานสินค้า

โพสต์โดย openerp_docman » ศุกร์ 11 ม.ค. 2013 5:16 pm

การจัดการห่วงโซอุปทาน (Supply Chain Management) มีความสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจ ทำให้สถานประกอบการทั้งด้านการผลิต ด้านการค้าและบริการต่างให้ความตระหนักและความสำคัญที่จะพัฒนาการจัดการซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ประกอบหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจทุกด้าน ปรับปรุงกระบวนการของการดำเนินธุรกิจให้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถที่จะมีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันระหว่างองค์กรในแต่ละห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

ความร่วมมือภายในองค์กรและนอกองค์กรในการจัดการโซ่อุปทาน
ในการเชื่อมโยงการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) คือ ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งหมายความรวมไปถึงความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความร่วมมือภายในองค์กรนั้น ได้แก่ การเชื่อมโยงของการไหลของวัสดุข้อมูล และข้อมูลทางการเงินระหว่างฝ่าย

ในการเชื่อมโยงการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) นั่นคือ ความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งหมายความรวมไปถึงความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร ความร่วมมือภายในองค์กรนั้น ได้แก่ การเชื่อมโยงของการไหลของวัสดุข้อมูล และข้อมูลทางการเงินระหว่างฝ่าย ความล่าช้าและความไม่แน่นอนลดน้อยลง การไหลของผลิตภัณฑ์ในโซ่อุปทานก็เป็นไปได้รวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นการที่จะบริหารโซ่อุปทาน และกิจกรรมโลจิสติกส์ของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น ควรเริ่มจัดการโซ่อุปทานจากหน่วยย่อยในองค์กรตั้งแต่ระดับเล็กสุด ซึ่งได้แก่
- โซ่อุปทานในแผนก กล่าวคือ ในแผนกเดียวกันในองค์กรนั้นมีการเชื่อมโยงหรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันหรือไม่
- โซ่อุปทานระหว่างแผนก กล่าวคือ ระหว่างฝ่ายนั้นมีการแบ่งปันข้อมูลที่ควรทราบถึงกันหรือไม่
- โซ่อุปทานระหว่างองค์กร เป็นโซ่อุปทานที่มีการจับมือกันอย่างยั่งยืนระหว่างซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้าและลูกค้าเป็นความเชื่อมต่อแบบเนื้อเดียวของกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งภายในและระหว่างองค์กร (Synchronized Activities)

รูปภาพ

สำหรับ External Supply Chain จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
> Upstream เป็นองค์ประกอบแรกสุดของห่วงโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ รวมถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ จนเป็นวัตถุดิบในการผลิตและเข้าสู่กระบวนการผลิตขององค์กร
> Downstream เป็นองค์ประกอบส่วนท้ายของห่วงโซ่ จะเริ่มต้นที่ผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก ผู้ขายตรง จนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย

ฉะนั้น เราจะพบว่า Internal Supply Chain เป็นส่วนที่เริ่มตั้งแต่หลังจากที่ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้ว ทางฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดจะส่งข้อมูลให้ฝ่ายวางแผนการผลิตหลัก (Master Production Scheduling-MPS) และจัดประชุมการผลิตสินค้าใหม่ (New Products) เพื่อเตรียมแผนการผลิตว่าจะผลิต “อะไร” “เมื่อไร” “เท่าไร” จากนั้นทำการแตกโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Bill of Materials-BOM) เพื่อคำนวณแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning-MRP) และพิจารณากำลังการผลิตเพื่อออกแบบแผนกำลังการผลิต (Capacity Requirement Planning-CRP) เมื่อพร้อมที่จะผลิตแล้วจึงทำการจัดลำดับการผลิต (Scheduling) เพื่อเป็นการกำหนดว่าจะลงสายการผลิตหรือเครื่องจักรใด “เมื่อไร” “เท่าไร”

หลังจากนั้น ฝ่ายวางแผนจะแจ้งความต้องการวัตถุดิบไปยังแผนกจัดซื้อ เพื่อทำการสั่งซื้อวัตถุดิบ (Purchase Order) โดยมีการตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบคงคลัง รวมถึง Lead Time ของ Supplier เมื่อ Supplier มาส่งวัตถุดิบ ทางคลังสินค้าก็จะทำการรับวัตถุดิบเข้าคลังสินค้า โดยมีการ Key ข้อมูลเข้าในระบบ Express เป็นระบบ IT ที่เชื่อมโยงภายในองค์กร เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบข้อมูล ในระหว่างการผลิตจะมีการควบคุมและตรวจสอบสถานะของการผลิต พร้อมทั้งมีการแจ้งปัญหาด้านการผลิต หรือการขาดแคลนวัตถุดิบไปยังฝ่ายวางแผนการผลิต ตลอดจนสถานะสินค้าสำเร็จรูปที่มีการผลิตเสร็จแล้ว หลังจากที่ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้ว จะมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าในพื้นที่ตรวจสอบ

ซึ่งถ้าสินค้าไม่มีปัญหาคุณภาพก็จะถูกนำไปเก็บไว้ยังคลังสินค้าสำเร็จรูป รอการจัดส่งไปยังลูกค้าต่อไป ด้านที่ติดต่อกับซัพพลายเออร์ คือ เมื่อมีการคำนวณแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning-MRP) และทำการจัดลำดับการผลิต (Scheduling) แล้วจะมีการส่งคำสั่งซื้อไปยัง Supplier และคอยติดตามจนกระทั่ง Supplier ส่งสินค้าเข้าโรงงาน โรงงานการผลิต ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับ Supplier โดยดำเนินกิจกรรม SRM (Supplier Relationship Management) โดยเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและจัดการกับกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ Supplier มีความพร้อมในการเตรียมและจัดส่งวัตถุดิบได้ทันตามความต้องการของบริษัทได้ตลอดเวลา โดยมีการแบ่งปันข้อมูลของซัพพลายเออร์ร่วมกันดังนี้
- การออกแบบและวิศวกรรม
- การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
- ระบบจัดซื้อ
- โลจิสติกส์ในองค์กร และการวัดประเมินผล
- การคัดเลือกและจัดหาซัพพลายเออร์


ในขณะที่ซัพพลายเออร์ก็สามารถทราบถึงข้อมูลของบริษัทได้คือ
- ข้อมูลการจัดการคำสั่งลูกค้าแบบ Real Time
- การ Update ระดับสินค้าคงคลังทั้งในส่วนวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
- การพยากรณ์ยอดขาย
- การตั้งราคาและโปรแกรมการลดราคาสินค้า


ฉะนั้น การสร้างความร่วมมือกันระหว่างภายในและภายนอกองค์กร มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การจัดการโซ่อุปทานสามารถดำเนินการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาโซ่อุปทาน ต้องอาศัยข้อมูลซึ่งกันและกันและสามารถเชื่อมโยงกันให้เป็นเนื้อเดียวกันระหว่างองค์กร และด้วยสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น องค์กรก็ควรมีระบบการตัดสินใจที่ดี เพื่อให้ได้เปรียบกับคู่แข่งขันและเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ ควรมีการจัดการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กันตลอดสายโซ่ เริ่มตั้งแต่ ลูกค้า ผู้ผลิต ตลอดจนถึงคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และครบถ้วนอันจะนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันต่อไป

การจัดการคลังสินค้าในโซ่อุปทาน
คลังสินค้า (Warehouses) เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีในโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุก ๆ โรงงานในประเทศไทยนั้นไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องของคลังสินค้าเท่าที่ควร การจัดการคลังสินค้านั้น มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงงานหลาย ๆ ด้าน
ดังนั้น ในโซ่อุปทานของสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการสินค้าคงคลังในสายการผลิต จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำการพิจารณา คลังสินค้า (Warehouse) จึงเป็นพื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้า (Warehouse) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
> วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนต่าง ๆ
> สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่

คลังสินค้า (Warehouse) จึงเป็นกระบวนการรับสินค้า (Receiving) ระบบเก็บสินค้า (Put-away) กระบวนการแปลงหน่วย (Let-down) การจ่ายสินค้า (Picking) การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง
คลังสินค้ามีชื่อเรียกได้ต่าง ๆ กัน อาทิ ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง ฯลฯ คำว่าคลังสินค้าจึงเป็นคำที่มีความหมายรวม ๆ ส่วนจะเรียกว่าอะไร ก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของคลังสินค้าแต่ละประเภท คลังสินค้าที่รับสินค้าเข้ามาทำการคัดแยกแล้วกระจายออกไป เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และกระบวนการดังกล่าว เรียกว่า Cross Docking

ในขณะที่คลังสินค้าบางแห่งมีฟังก์ชันเพิ่มขึ้นมาคือ หลังรับสินค้าเข้ามาแล้ว ก็เก็บสินค้าไว้และทำหน้าที่จัดสรรสินค้าก่อนส่งมอบตามคำสั่งซื้อจึงมีขั้นตอนย่อยประกอบด้วย รับสินค้าเข้า จัดเก็บ จัดสินค้าตามใบสั่งซื้อ (Order Picking) อันเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาและกำลังคนมากที่สุด ตรวจสอบ หีบห่อ และจัดส่ง กล่าวคือ รับหน้าที่ในการจำหน่ายไว้ด้วย จึงเรียกว่าศูนย์จำหน่ายสินค้า การลดเวลาและขั้นตอนในศูนย์จำหน่ายสินค้าทำได้ด้วยการนำคอมพิวเตอร์ช่วยออกใบสั่งซื้อ ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงคลังสินค้าและประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสายการผลิต การจำหน่าย และการกระจายสินค้าที่ไม่มีคลังสินค้าเป็นของตัวเอง ไม่ต้องการสร้างคลังสินค้าเองอาจใช้บริการเช่าคลังสินค้าสาธารณะ และประเด็นเกี่ยวกับสถานที่ตั้งคลังสินค้า ควรตั้งในจุดที่ตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างลงตัว ในสินค้าคงคลังมีหลายประเภท Input ของคลังสินค้าจึงแตกต่างกันไป อาจมีจุดเริ่มต้นจากซัพพลายเออร์นำวัตถุดิบมาป้อนให้คลังสินค้า หรือฝ่ายพัสดุนำ MRO (Maintenance Repair and Operation Supply ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษาและสนับสนุนการผลิต) มามอบให้ฝ่ายผลิต ผู้ผลิตสินค้านำสินค้าสำเร็จส่งเข้าคลังสินค้าและกระจายไปยังผู้บริโภค ฯลฯ วงจรดังกล่าวเป็น Spec ทั่วไปของสินค้าคงคลัง ความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทำให้ผู้ผลิตต้องวางแผนและคำนวณว่า จะจัดสรรปันส่วนการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อนำสินค้าคงคลังมาสร้างคุณค่าโดยการผลิตให้เป็นสินค้า

เมื่อพิจารณาถึงคลังสินค้าในกระบวนการรับสินค้า (Receiving) ระบบเก็บสินค้า (Put-away) กระบวนการแปลงหน่วย (Let-down) การจ่ายสินค้า (Picking) การตรวจนับคลังสินค้า (Counting) ประเทศไทยนั้นมีคลังสินค้าซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สินค้าสาธารณะ (Private Warehouse) คลังสินค้าสาธารณะ เป็นกิจการทางธุรกิจที่เป็นเอกเทศของตนเอง โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาสินค้า และรับทำการเก็บรักษาสินค้ารวมทั้งให้บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้านั้น การประกอบกิจการคลังสินค้าสาธารณะ เป็นการค้าขายประเภทที่ถือว่ามีผลกระทบต่อความปลอดภัยและความผาสุกของสาธารณะชน โดยยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
> คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน เป็นธุรกิจการค้าของภาคเอกชนที่จัดขึ้นในรูปของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนแล้วแต่กรณี กิจการสำคัญที่คลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชนดำเนินงาน ได้แก่
1. รับฝากสินค้าโดยผู้ประกอบการคลังสินค้าได้รับเงินค่าตอบแทน หรือประโยชน์อื่นใด
2. ให้ผู้ฝากกู้ยืมเงินโดยเอาสินค้าที่ฝากนั้นจำนำไว้เป็นประกันแก่ผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า โดยผู้ประกอบการคลังสินค้าได้รับดอกเบี้ย หรือประโยชน์อื่นใดเป็นค่าตอบแทน
3. ให้บริการด้านความเย็นในการเก็บรักษาสินค้า รับอบพืชลดความชื้น กะเทาะ คัดผสม หรือด้วยกรรมวิธีอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ของผู้ฝาก โดยผู้ประกอบกิจการคลังสินค้าได้รับค่าตอบแทน หรือประโยชน์อย่างอื่นอย่างใด
4. กระทำการใด ๆ ตามแบบวิธีเกี่ยวกับการศุลกากร การนำเข้า การส่งออก การขนส่งสินค้า และอาจจะจัดให้มีการประกันภัย ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องพึงกระทำตามสัญญาเก็บของในคลังสินค้า เป็นต้น
> คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล องค์การของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจทางการค้า จะจัดตั้งขึ้นในรูปของรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐพาณิชย์รูปอื่น จุดมุ่งหมายหรือนโยบายหลักในการประกอบกิจการขององค์การเหล่านี้ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ
> คลังสินค้าสาธารณะของสหกรณ์ สหกรณ์เป็นองค์การของเอกชนที่อยู่ภายใต้การควบคุมและโดยการสนับสนุนของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายสหกรณ์ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีเป้าหมายในการดำเนินกิจการร่วมกัน ช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ

2. คลังสินค้าเอกชน (Private Warehouse) เนื่องจากความสำคัญของคลังสินค้าในการดำเนินการประกอบกิจการค้าขายที่เกี่ยวกับสินค้าชนิดต่าง ๆ นั้น นับว่าเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ไม่ว่านั่นจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมประเทศใดก็ตาม
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการผลิต กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการผลิต กิจการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรกลที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสายงานอย่างต่อเนื่อง ทุกขั้นตอนของการผลิตต้องรับช่วงติดต่อกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่การป้อนวัสดุการผลิตเข้าไปจนได้ผลผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเป็นการผลิตจำนวนมาก ๆ ที่เรียกว่า Mass Production หรือการผลิตแบบต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการตลาด คลังสินค้าเป็นเครื่องมือในการกระจายสินค้าออกสู่ตลาดจากมือของผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ผู้ผลิตสินค้าใช้คลังสินค้าในการเก็บรักษาสินค้าสำเร็จรูปเป็นผลผลิตของตนในขั้นแรก ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตทางการเกษตร หรือผลผลิตทางอุตสาหกรรมก็ตามและใช้คลังสินค้าที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ในการกระจายสินค้าของตนเองออกสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการกิจกรรมการบริการ การประกอบกิจการธุรกิจบริการทุกประเภท ทั้งในภาคธุรกิจเอกชน และองค์การของรัฐบาล รวมไปถึงสหกรณ์และหน่วยงานราชการของรัฐ จำเป็นต้องมีการสะสมเก็บรักษาพัสดุสำหรับการใช้ในกิจการนั้นอย่างเพียงพอ คลังสินค้าจำพวกคลังเก็บพัสดุมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือของกิจการบริการทุกประเภท ทำหน้าที่เก็บรักษาพัสดุสะสมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจการบริการนั้น ๆ
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการวงการธุรกิจ คลังสินค้าสาธารณะเป็นแหล่งให้เครดิตแก่นักธุรกิจที่สำคัญแหล่งหนึ่งเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินประเภทอื่น เช่น ธนาคาร โดยวิธีให้ผู้ฝากสินค้าไว้ในคลังสินค้านั้นกู้ยืมเงิน โดยใช้สินค้าที่ฝากไว้นั้นจำนำเป็นประกัน และได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน
> บทบาทคลังสินค้าในกระบวนการนโยบายทางเศรษฐกิจ ความสำคัญในเรื่องนี้อาจเป็นคลังสินค้าสาธารณะของบริษัทเอกชน คลังสินค้าสาธารณะขององค์การรัฐบาล คลังสินค้าส่วนบุคคลขององค์การรัฐบาล หรือคลังสินค้าของสหกรณ์ก็ได้ ที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทพืชผลทางการเกษตร และสินค้าอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลอาจใช้คลังสินค้าเหล่านี้ในการสะสมเก็บรักษาสินค้าที่รัฐบาลเข้าไปรับซื้อเพื่อแทรกแซงตลาด


ที่มา : thailandindustry.com

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 20 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน