รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด 7 ธุรกิจโตรับทรัพย์ ฝ่าวิกฤติปี 2556

ตอบกระทู้


คำถามนี้ เพื่อป้องกันการส่งแบบอัตโนมัติจากสแปมบอท
รูปแสดงอารมณ์
:D :) ;) :( :o :shock: :? 8-) :lol: :x :P :oops: :cry: :evil: :twisted: :roll: :!: :?: :idea: :arrow: :| :mrgreen: :geek: :ugeek:

BBCode เปิด
[img] เปิด
[flash] ปิด
[url] เปิด
[Smile icon] เปิด

กระทู้แนะนำ
   

มุมมองที่ขยายได้ กระทู้แนะนำ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด 7 ธุรกิจโตรับทรัพย์ ฝ่าวิกฤติปี 2556

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด 7 ธุรกิจโตรับทรัพย์ ฝ่าวิกฤติปี 2556

โพสต์ โดย openerpthailand » จันทร์ 14 ม.ค. 2013 4:18 am

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด 7 ธุรกิจโตรับทรัพย์ ฝ่าวิกฤติปี 2556

1. ส่งออกรถยนต์

ได้รับอานิสงส์จากตลาดส่งออกหลังจากค่ายรถเตรียมโยกกำลังการผลิตที่ดึงไปเพื่อรองรับตลาดในประเทศในปี 2555 กลับมาผลิตเพื่อตลาดส่งออกมากขึ้น และน่าจะทำให้การส่งออกรถยนต์ยังคงมีอัตราการขยายตัวได้อย่างโดดเด่น และทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ต่อที่ระดับ 1,230,000 ถึง 1,290,000 คัน ขยายตัว 20-26% จากยอดส่งออก 1,030, 000 คัน ในปี 2555 (ขยายตัว 40%) สำหรับตลาดในประเทศ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 มีช่วงจังหวะของการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่รับจองไว้ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรก (ยอดคงค้างรอส่งมอบข้ามไปในปี 2556 ไม่ต่ำกว่า 400,000 คัน) แต่คาดว่ายอดขายในประเทศช่วงครึ่งหลังของปี 2556 มีโอกาสหดตัวลงจากช่วงเดียวกันในปี 2555 จากผลของโครงการรถยนต์คันแรกที่ทำให้ความต้องการรถยนต์ในอนาคตถูกดึงไปใช้แล้วล่วงหน้า

ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์, ธุรกิจขนส่ง, อุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น เครื่องเสียงติดรถยนต์ และสายไฟฟ้า เป็นต้น



2. ธุรกิจโทรคมนาคม

ธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะบริการด้านข้อมูลจะมีความเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก โดยผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตให้เปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ต่างหันมาเร่งพัฒนาระบบเครือข่ายและเร่งขยายโครงข่าย ไปตามเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ พร้อมทั้งยังได้ออกโปรโมชั่นการตลาดเพื่อเร่งโอนย้ายลูกค้าจากระบบสัมปทาน 2G เดิมไปสู่ระบบใบอนุญาต 3G ขณะเดียวกันผู้ให้บริการคอนเทนต์มีแนวโน้มที่จะเข้ามาพัฒนาบริการใหม่ๆ บนช่องทางการสื่อสารไร้สาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจวางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมราว 125,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปี และยังน่าจะก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคเพื่อใช้งานบริการ 3G มากยิ่งขึ้น

ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น กลุ่มสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต, ธุรกิจบริการด้านคอนเทนต์, ธุรกิจ e-commerce, สถาบันการเงิน (รายได้จากการการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นผ่านบัตรเครดิต)



3. ธุรกิจทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี

หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เข้ามากำกับดูแลและมีกฎหมายการรองรับการดำเนินธุรกิจทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี กสทช. จะเริ่มทยอยออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการ และมีการวางแผนที่จะเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิทัล โดยจะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาตสำหรับช่องบริการธุรกิจ ราวเดือนมีนาคม 2556 ซึ่งโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล นอกเหนือจากจะมีความคมชัดของภาพสูงกว่าโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกแล้ว ยังเป็นระบบที่สามารถติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ ซึ่งก่อให้เกิดความบันเทิงในรูปแบบใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีผลต่อการแข่งขันทางธุรกิจทีวีมีการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และฟรีทีวีที่จะมาใช้ระบบดิจิทัล

ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ กล่องและอุปกรณ์รับสัญญาณ, โทรทัศน์ที่รับสัญญาณระบบดิจิทัล, ธุรกิจโฆษณา



4. ธุรกิจก่อสร้าง

ด้วยอานิสงส์ของโครงการก่อสร้างภาครัฐ อาทิ แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ 2.27 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค และแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 3.5 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นโครงการต่อเนื่องมาจากปี 2555 ได้แก่ การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ในส่วนของการก่อสร้างภาคเอกชนปี 2556 ความคึกคักจะอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการขยายการลงทุนของภาคธุรกิจขนาดใหญ่ไปยังจังหวัดสำคัญๆ มากขึ้น อาทิ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ การขยายฐานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการรายใหญ่จากกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม การเติบโตของโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า ฯลฯ

ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง, ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง (ปูนซิเมนต์ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก), ธุรกิจขนส่ง



5. ธุรกิจขนส่ง

การขนส่งสินค้าทางถนนมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ด้วยแรงหนุนจากภาคการก่อสร้างที่เติบโต การขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่รวมถึงการกระจายคลังสินค้าไปยังจังหวัดต่างๆในภูมิภาค และการเติบโตของกิจกรรมการค้าชายแดน ขณะที่การขนส่งทางเรือในปี 2556 คาดว่าจะกลับขึ้นมาเติบโตได้ดี จากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะด้านการเกษตรที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับธุรกิจสายการบินแบบขนส่งสินค้าคาดว่าจะกลับมาเติบโต ขณะที่การขนส่งคนนั้น ธุรกิจสายการบินน่าที่จะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากธุรกิจสายการบินทั่วไปและธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะการแข่งขันจากธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ที่ต่างปรับกลยุทธ์การตลาดและขยายเส้นทางบินใหม่ๆ คาดว่า อัตราการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำของประเทศไทยในปีงบประมาณ 2556 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 15.0-18.0 โดยที่จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็น 23-24 ล้านคนในปี 2556

ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ ธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน



6. ธุรกิจโรงพยาบาล

การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ และการควบรวมกิจการของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนคาดว่า ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปี 2556 จากเดิมที่มีการควบรวมเป็นเครือข่ายเดียวกันระหว่างโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ด้วยกันเอง ก็เริ่มมีการมองหาพันธมิตร หรือเดินหน้าควบรวมกิจการโรงพยาบาลเอกชนในส่วนภูมิภาคมากขึ้น ขณะเดียวกันโรงพยาบาลของภาครัฐที่หันมาให้ความสนใจกลุ่มคนไข้ที่มีรายได้สูงมากขึ้น อนึ่งเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 นอกจากนี้แนวโน้มการขยายตัวของคนไข้ชาวต่างชาติ เนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละรายและแผนการตลาดของภาครัฐที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในไทยมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย (Medical Hub of Asia)

ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ ธุรกิจเครื่องมือแพทย์, ธุรกิจอพาร์ตเมนต์และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์สำหรับชาวต่างชาติ



7. ยางพารา

ยางพาราเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ส่งออกอันดับ 1 ของไทย ทิศทางราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น หลังจากปรากฏสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งน่าจะเป็นแรงหนุนให้ตลาดยางพาราโลกกลับมาขยายตัวดีขึ้นทั้งในด้านปริมาณและราคา นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนเสริมจากการอ่อนค่าของเงินเยน ประกอบกับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อันดับ 2 รองจากไทยคาดการณ์ว่าผลผลิตยางพาราในปี 2556 อาจลดลงร้อยละ 8.9 ซึ่งความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตยางรายสำคัญ คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในการรักษาเสถียรภาพยางน่าจะช่วยดึงราคายางให้สูงขึ้น

ธุรกิจที่จะได้รับอานิสงส์ เช่น ธุรกิจแปรรูปยาง, ธุรกิจขนส่ง

ทีมา: brandbuffet.in.th

ข้างบน