โพสต์ โดย Yamachita » เสาร์ 29 ธ.ค. 2012 10:25 am
นายวิริยะ จงไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ จีเอสเค ผู้ค้นคว้าวิจัยพัฒนายาและวัคซีนนวัตกรรม เปิดเผยว่า บริษัทได้รับการจัดอันดับสูงสุดของดัชนีการเข้าถึงยา ปี 2555 (Access to Medicines Index 2012) โดยมูลนิธิเพื่อการเข้าถึงยา (The Access to Medicines Foundation) โดยบริษัทติดอันดับ 1 ของดัชนีการเข้าถึงยาเป็นครั้งที่ 3 คือ ปี 2551 ,ปี 2553 และปี 2555 จากบริษัทยาชั้นนำ 20 ราย
ทั้งนี้ บริษัทได้คะแนนสูงสุดใน 4 หมวด ได้แก่ 1.การเข้าถึงการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยา 2.การวิจัยและพัฒนายาที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา 3.การยกระดับศักยภาพในการดำเนินงานและการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และ4.การบริจาคและโครงการเพื่อสังคม
“การได้รับการจัดอันดับสูงสุดในครั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำถึงปณิธานของบริษัทและความมุ่งมั่นทุ่มเทของพนักงานในทุกภาคส่วนของจีเอสเคทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานที่ทำหน้าที่ผลิตวัคซีนจำนวนหลายล้านหน่วยที่จัดส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงพนักงานที่รับผิดชอบในการศึกษาวิจัยพัฒนายาและวัคซีน สำหรับการป้องกันและรักษาโรคที่ยังเป็นปัญหาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อาทิ โรคมาเลเรีย โรคไข้เลือดออก และโรควัณโรค เป็นต้น รวมถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานในภูมิภาคแอฟริกาเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาของประชากรให้มากขึ้น” นายวิริยะ กล่าว
ที่มา : naewna.com
นายวิริยะ จงไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ จีเอสเค ผู้ค้นคว้าวิจัยพัฒนายาและวัคซีนนวัตกรรม เปิดเผยว่า บริษัทได้รับการจัดอันดับสูงสุดของดัชนีการเข้าถึงยา ปี 2555 (Access to Medicines Index 2012) โดยมูลนิธิเพื่อการเข้าถึงยา (The Access to Medicines Foundation) โดยบริษัทติดอันดับ 1 ของดัชนีการเข้าถึงยาเป็นครั้งที่ 3 คือ ปี 2551 ,ปี 2553 และปี 2555 จากบริษัทยาชั้นนำ 20 ราย
ทั้งนี้ บริษัทได้คะแนนสูงสุดใน 4 หมวด ได้แก่ 1.การเข้าถึงการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยา 2.การวิจัยและพัฒนายาที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา 3.การยกระดับศักยภาพในการดำเนินงานและการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และ4.การบริจาคและโครงการเพื่อสังคม
“การได้รับการจัดอันดับสูงสุดในครั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำถึงปณิธานของบริษัทและความมุ่งมั่นทุ่มเทของพนักงานในทุกภาคส่วนของจีเอสเคทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานที่ทำหน้าที่ผลิตวัคซีนจำนวนหลายล้านหน่วยที่จัดส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงพนักงานที่รับผิดชอบในการศึกษาวิจัยพัฒนายาและวัคซีน สำหรับการป้องกันและรักษาโรคที่ยังเป็นปัญหาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อาทิ โรคมาเลเรีย โรคไข้เลือดออก และโรควัณโรค เป็นต้น รวมถึงพนักงานที่ปฏิบัติงานในภูมิภาคแอฟริกาเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงยาของประชากรให้มากขึ้น” นายวิริยะ กล่าว
ที่มา : naewna.com