ผศ.ไพรัช วัชรพันธุ์ อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ กรรมการสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการส่งออกในประเทศกลุ่มอาเซียน รวมถึงประเทศจีนว่า กำลังฝึกอบรม พัฒนาผู้ประกอบการ ชาวบ้าน ในพื้นที่ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์ เพื่อการส่งออก หรือจำหน่ายในประเทศ
ผศ.ไพรัชกล่าวว่า การพัฒนาดังกล่าวเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ของชุมชนส่วนใหญ่ทำได้ดีอยู่แล้ว สิ่งที่เป็นปัญหา อยู่ที่บรรจุภัณฑ์ที่จะต้องลงทุน เพื่อให้เกิดการยอมรับมากขึ้น
ที่ผ่านมาสถาบันได้พัฒนาผู้ประกอบการในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์แล้วหลายราย กระจายในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส จ.สตูล และจ.สงขลาบางส่วน มีทั้งการปรับรูปแบบ สี ให้กลมกลืนกับตลาดท้องถิ่น การตีพิมพ์ชื่อสินค้าตลอดจนคุณสมบัติให้มีภาษาหลากหลายตามสภาพตลาด เช่น ภาษาจีน ภาษามลายู ภาษาอังกฤษ แทนที่จะมีแต่ภาษาไทย
ก่อนหน้านี้ ผศ.ไพรัช ได้ทำวิจัย การส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าฮาลาลไปยังเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ซึ่งเป็นฐานการผลิตอาหารฮาลาล และสินค้ามุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดย ผศ.ไพรัชกล่าวว่า ตัวแทนจากหนิงเซี่ย ให้ความสนใจสินค้าฮาลาลจากชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย แต่มีข้อจำกัดการผลิตของชุมชนไม่สามารถ
ผลิตปริมาณตามต้องการได้ และยังมีปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ก็ขาดความสะดวกเนื่องจากระยะทางไกล ขณะนี้ จึงให้ความสำคัญกับตลาดในเขตอาเซียนเป็นหลัก
ที่มา : dailynews.co.th
[center][img]http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/196183.jpg[/img][/center]
ผศ.ไพรัช วัชรพันธุ์ อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ กรรมการสถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการส่งออกในประเทศกลุ่มอาเซียน รวมถึงประเทศจีนว่า กำลังฝึกอบรม พัฒนาผู้ประกอบการ ชาวบ้าน ในพื้นที่ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์ เพื่อการส่งออก หรือจำหน่ายในประเทศ
ผศ.ไพรัชกล่าวว่า การพัฒนาดังกล่าวเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ของชุมชนส่วนใหญ่ทำได้ดีอยู่แล้ว สิ่งที่เป็นปัญหา อยู่ที่บรรจุภัณฑ์ที่จะต้องลงทุน เพื่อให้เกิดการยอมรับมากขึ้น
ที่ผ่านมาสถาบันได้พัฒนาผู้ประกอบการในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์แล้วหลายราย กระจายในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส จ.สตูล และจ.สงขลาบางส่วน มีทั้งการปรับรูปแบบ สี ให้กลมกลืนกับตลาดท้องถิ่น การตีพิมพ์ชื่อสินค้าตลอดจนคุณสมบัติให้มีภาษาหลากหลายตามสภาพตลาด เช่น ภาษาจีน ภาษามลายู ภาษาอังกฤษ แทนที่จะมีแต่ภาษาไทย
ก่อนหน้านี้ ผศ.ไพรัช ได้ทำวิจัย การส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าฮาลาลไปยังเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ซึ่งเป็นฐานการผลิตอาหารฮาลาล และสินค้ามุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดย ผศ.ไพรัชกล่าวว่า ตัวแทนจากหนิงเซี่ย ให้ความสนใจสินค้าฮาลาลจากชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย แต่มีข้อจำกัดการผลิตของชุมชนไม่สามารถ
ผลิตปริมาณตามต้องการได้ และยังมีปัญหาด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ก็ขาดความสะดวกเนื่องจากระยะทางไกล ขณะนี้ จึงให้ความสำคัญกับตลาดในเขตอาเซียนเป็นหลัก
ที่มา : dailynews.co.th