การจับจ่ายใช้สอยของคนไทย มีด้วยกันหลายช่องทาง แต่ถ้าเป็นของกินของใช้แล้วละก็ ยังไงก็ต้องเป็นตลาดสด หรือ ตลาดนัด การบริหารตลาดสด หรือ ตลาดนัด ที่ผ่านมา การเข้ามาของศูนย์การค้า ทำให้ค้าปลีก และตลาดสดเอง ต้องปรับตัวรองรับการแข่งขันที่รุนแรง
ครั้งนี้ ผู้บริหารตลาดสด “ถนอมมิตร” ย่านวัชรพลของ “นายศุภกร กิจคณากร” ทายาท เจ้าของ KIJ DEVELOPMENT ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ การบริหารตลาดสดให้ประสบความสำเร็จ ว่าต้องมีเทคนิคการบริหารอย่างไร และโอกาสการเติบโตของตลาดสดในเมืองไทย
นายศุภกร เล่าถึงตลาดถนอมมิตร ว่า เป็นตลาดสดที่มีสินค้าหลากหลาย ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าทุกประเภท โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ ตลาดสด พื้นที่ 30% ส่วนพลาซ่า พื้นที่ 30% และโต้รุ่งปรุงสำเร็จ 40% จากจำนวนแผงค้าทั้งหมด 900 แผง บนพื้นที่ 8 ไร่
สำหรับราคาแผงค่าเช่า เฉลี่ยเดือนละ 3,000 กว่าบาท (ผู้เช่าต้องวางเงินประกัน 1 เดือน จะจ่ายล่วงหน้า 2 เดือน รวมจ่ายก่อนเข้าอยู่ 3 เดือน ) ซึ่งราคาค่าเช่าแตกต่างกันไปตามทำเลที่ตั้ง โดยมีผู้เช่าแผงเต็มพื้นที่มากกว่า 90% มาตลอดตั้งแต่ปีแรก ส่วนหนึ่งที่เราไม่เก็บค่าเช่าพื้นที่สูงมากนัก เพราะต้องการให้พ่อค้า แม่ค้าสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่เหมาะสม และไม่เป็นภาระเรื่องค่าเช่าที่สูงเกินไป
นายศุภกร เล่าถึงหลักของการบริหารตลาดสด ว่าเราจะต้องให้ความสำคัญกับ 3 ส่วนหลัก คือส่วนที่หนึ่ง สถานที่ ส่วนที่สอง คือ ผู้เช่าแผง และส่วนที่ 3 ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ถ้าเจ้าของตลาด และผู้เช่าแผง ปฏิบัติตามกฎ และ มีการบริหารจัดการที่ดี ส่วนที่ 3 ลูกค้า ก็จะตามเข้ามาเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำประชาสัมพันธ์อะไร เพราะของกินของใช้ประจำวันถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนก็ต้องจับจ่ายใช้สอยอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ส่วนของหลักการบริหารตลาดสดถนอมมิตร ยึดแนวทางการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับทุกส่วน ได้แก่ การบริหารสินค้าให้มีความหลากหลาย ตลาดต้องสะอาด ซึ่งจะมีการทำความสะอาด ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ ทุกอาทิตย์ การกำจัดขยะ และ รีไซเคิลขยะ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 2 บุคลากร พนักงานบริหารตลาด รวมไปถึง พ่อค้า แม่ค้า การคัดเลือกพ่อค้า แม่ค้า ตัวจริง ที่ขายสินค้าคุณภาพในราคาที่เหมาะสม (จะไม่มีการเช่าช่วงต่อ โดยตัดคนกลางที่เช่าไปให้คนอื่นเช่าต่อ เพราะค่าเช่าที่แพง ส่งผลทำให้สินค้ามีราคาแพงไปด้วย) พ่อค้า แม่ค้า ต้องยิ้มแย้ม แจ่มใส อัธยาศัยดี ไม่เอารัด เอาเปรียบโดยเฉพาะเรื่องตราชั่ง ซึ่งทางเราจะเข้มงวดเรื่องตราชั่ง ต้องได้มาตรฐาน ตรวจตราชั่งอย่างต่อเนื่อง ถ้าตราชั่งไม่ตรง ผู้เช่าแผงจะต้องเช่าตราชั่งจากเราวันละ 500 บาท
ส่วนที่ 3 พัฒนาส่วนขององค์กร โดยการมีส่วนร่วมกับชุมขน เรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดการคัดแยกขยะสด เอาไปทำน้ำหมัก และส่วนของขยะแห้งให้กับแม่บ้านขายเป็นรายได้ ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ตลาดใหม่ ลบภาพลักษณ์ตลาดสดในอดีต ที่หลายคนมองว่า ไม่สะอาด แต่ตลาดสดยุคใหม่ ของเรา เน้นความสะอาด หรูหรา พร้อมที่จอดรถสะดวกสบาย
นายศุภกร เล่าถึง การแข่งขันของตลาดสด ว่า ปัจจุบันมีผู้สนใจเข้ามาบริหารตลาดมากขึ้น แต่จะอยู่รอด หรือไม่ ใช้เวลาพิสูจน์ไม่นานถ้าไม่ดี เพียงแค่ไม่ถึงปีก็ต้องเลิก เพราะถ้าลูกค้าหนีสุดท้ายพ่อค้า แม่ค้า ก็หนีกันหมดแต่ถ้าตลาดไหนติดก็จะอยู่กันยาว
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังได้มีการรวมตัวกันในกลุ่มของผู้บริหารตลาดสดในรูปแบบของสมาคมผู้ค้าตลาดสด ตอนนี้มีการรวมตัวกัน 30 รายทั่วประเทศ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อช่วยพัฒนาตลาดสดให้ดีขึ้น และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งอย่างศูนย์การค้าชั้นนำได้
ตลาดถนอมมิตร ลงทุนค่าก่อสร้างและบริหารจัดการไปทั้งหมดประมาณ 60 ล้านบาท (คืนทุนในปีที่ 3)โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์)
ที่มา : manager.co.th
[center][img]http://pics.manager.co.th/Images/556000004402503.JPEG[/img][/center]
การจับจ่ายใช้สอยของคนไทย มีด้วยกันหลายช่องทาง แต่ถ้าเป็นของกินของใช้แล้วละก็ ยังไงก็ต้องเป็นตลาดสด หรือ ตลาดนัด การบริหารตลาดสด หรือ ตลาดนัด ที่ผ่านมา การเข้ามาของศูนย์การค้า ทำให้ค้าปลีก และตลาดสดเอง ต้องปรับตัวรองรับการแข่งขันที่รุนแรง
ครั้งนี้ ผู้บริหารตลาดสด “ถนอมมิตร” ย่านวัชรพลของ “นายศุภกร กิจคณากร” ทายาท เจ้าของ KIJ DEVELOPMENT ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ การบริหารตลาดสดให้ประสบความสำเร็จ ว่าต้องมีเทคนิคการบริหารอย่างไร และโอกาสการเติบโตของตลาดสดในเมืองไทย
นายศุภกร เล่าถึงตลาดถนอมมิตร ว่า เป็นตลาดสดที่มีสินค้าหลากหลาย ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าทุกประเภท โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน ได้แก่ ตลาดสด พื้นที่ 30% ส่วนพลาซ่า พื้นที่ 30% และโต้รุ่งปรุงสำเร็จ 40% จากจำนวนแผงค้าทั้งหมด 900 แผง บนพื้นที่ 8 ไร่
[center][img]http://pics.manager.co.th/Images/556000004402501.JPEG[/img][/center]
สำหรับราคาแผงค่าเช่า เฉลี่ยเดือนละ 3,000 กว่าบาท (ผู้เช่าต้องวางเงินประกัน 1 เดือน จะจ่ายล่วงหน้า 2 เดือน รวมจ่ายก่อนเข้าอยู่ 3 เดือน ) ซึ่งราคาค่าเช่าแตกต่างกันไปตามทำเลที่ตั้ง โดยมีผู้เช่าแผงเต็มพื้นที่มากกว่า 90% มาตลอดตั้งแต่ปีแรก ส่วนหนึ่งที่เราไม่เก็บค่าเช่าพื้นที่สูงมากนัก เพราะต้องการให้พ่อค้า แม่ค้าสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่เหมาะสม และไม่เป็นภาระเรื่องค่าเช่าที่สูงเกินไป
นายศุภกร เล่าถึงหลักของการบริหารตลาดสด ว่าเราจะต้องให้ความสำคัญกับ 3 ส่วนหลัก คือส่วนที่หนึ่ง สถานที่ ส่วนที่สอง คือ ผู้เช่าแผง และส่วนที่ 3 ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ถ้าเจ้าของตลาด และผู้เช่าแผง ปฏิบัติตามกฎ และ มีการบริหารจัดการที่ดี ส่วนที่ 3 ลูกค้า ก็จะตามเข้ามาเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำประชาสัมพันธ์อะไร เพราะของกินของใช้ประจำวันถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนก็ต้องจับจ่ายใช้สอยอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ส่วนของหลักการบริหารตลาดสดถนอมมิตร ยึดแนวทางการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับทุกส่วน ได้แก่ การบริหารสินค้าให้มีความหลากหลาย ตลาดต้องสะอาด ซึ่งจะมีการทำความสะอาด ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ ทุกอาทิตย์ การกำจัดขยะ และ รีไซเคิลขยะ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 2 บุคลากร พนักงานบริหารตลาด รวมไปถึง พ่อค้า แม่ค้า การคัดเลือกพ่อค้า แม่ค้า ตัวจริง ที่ขายสินค้าคุณภาพในราคาที่เหมาะสม (จะไม่มีการเช่าช่วงต่อ โดยตัดคนกลางที่เช่าไปให้คนอื่นเช่าต่อ เพราะค่าเช่าที่แพง ส่งผลทำให้สินค้ามีราคาแพงไปด้วย) พ่อค้า แม่ค้า ต้องยิ้มแย้ม แจ่มใส อัธยาศัยดี ไม่เอารัด เอาเปรียบโดยเฉพาะเรื่องตราชั่ง ซึ่งทางเราจะเข้มงวดเรื่องตราชั่ง ต้องได้มาตรฐาน ตรวจตราชั่งอย่างต่อเนื่อง ถ้าตราชั่งไม่ตรง ผู้เช่าแผงจะต้องเช่าตราชั่งจากเราวันละ 500 บาท
[center][img]http://pics.manager.co.th/Images/556000004402507.JPEG[/img][/center]
ส่วนที่ 3 พัฒนาส่วนขององค์กร โดยการมีส่วนร่วมกับชุมขน เรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดการคัดแยกขยะสด เอาไปทำน้ำหมัก และส่วนของขยะแห้งให้กับแม่บ้านขายเป็นรายได้ ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ตลาดใหม่ ลบภาพลักษณ์ตลาดสดในอดีต ที่หลายคนมองว่า ไม่สะอาด แต่ตลาดสดยุคใหม่ ของเรา เน้นความสะอาด หรูหรา พร้อมที่จอดรถสะดวกสบาย
นายศุภกร เล่าถึง การแข่งขันของตลาดสด ว่า ปัจจุบันมีผู้สนใจเข้ามาบริหารตลาดมากขึ้น แต่จะอยู่รอด หรือไม่ ใช้เวลาพิสูจน์ไม่นานถ้าไม่ดี เพียงแค่ไม่ถึงปีก็ต้องเลิก เพราะถ้าลูกค้าหนีสุดท้ายพ่อค้า แม่ค้า ก็หนีกันหมดแต่ถ้าตลาดไหนติดก็จะอยู่กันยาว
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังได้มีการรวมตัวกันในกลุ่มของผู้บริหารตลาดสดในรูปแบบของสมาคมผู้ค้าตลาดสด ตอนนี้มีการรวมตัวกัน 30 รายทั่วประเทศ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อช่วยพัฒนาตลาดสดให้ดีขึ้น และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งอย่างศูนย์การค้าชั้นนำได้
ตลาดถนอมมิตร ลงทุนค่าก่อสร้างและบริหารจัดการไปทั้งหมดประมาณ 60 ล้านบาท (คืนทุนในปีที่ 3)โดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์)
ที่มา : manager.co.th