โพสต์ โดย Yamachita » เสาร์ 12 ม.ค. 2013 10:35 am
เมียนมาร์ หรือพม่า กลายเป็นขุมทองของนักธุรกิจ นักลงทุนจากต่างประเทศที่กำลังแห่เข้าไปศึกษาลู่ทางภายหลังจากการเปิดประเทศครั้งแรก รวมทั้งเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2555 มีการขยายตัวสูงถึง 6.4% แล้ว คาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงระดับ 6.6% เนื่องจากการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานจากต่างชาติ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างการท่องเที่ยว ก่อสร้าง และพาณิชยกรรม
สำหรับเงินลงทุนจากต่างประเทศในปี 2554 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจพลังงานและการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 84,000 ล้านบาท ขณะที่ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างมากหลังการเลือกตั้งภายในประเทศในปี 2553 เพราะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2554 เพิ่มขึ้น 26%
นอกจากนี้รัฐบาลพม่าจะเร่งดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาประเทศ เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายในตะนาวศรี เป็นการร่วมทุนกับบริษัทเอกชนไทย, โครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันจากเมืองเจียวเพียว และโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและคลังเก็บน้ำมันดิบ, โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชิตตะเว่
ด้านตลาดส่งออกนั้นประเทศไทยเป็นตลาดอันดับ 1 มีสัดส่วน 42.3% ของการส่งออกทั้งหมด ตามด้วยจีน อินเดีย ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ แต่การนำเข้าจากประเทศจีนสูงสุด 29.1% ตามด้วยสิงคโปร์, ญี่ปุ่น และไทย อย่างไรก็ตามการค้าระหว่างไทยกับพม่าเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากไทยนำเข้าเชื้อเพลิงและพลังงานถึง 92% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งหมด
ดังนั้น โอกาสทางการค้าและการลงทุนจึงเปิดกว้างโดยเฉพาะสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าเครื่องจักรกลการเกษตร อาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมรับประทานและเครื่องดื่ม รถยนต์และชิ้นส่วน อะไหล่ วัสดุก่อสร้างและเครื่อง จักรกลที่เติบโตตามการพัฒนา เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวที่กำลังบูมมาก
นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง กล่าวว่า การเยือนประเทศไทยเป็นชาติแรกของนางออง ซาน ซูจี เมื่อปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าพม่าให้ความสำคัญกับประเทศไทย หรือในรอบ 8 เดือน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เดินทางไปเยือนพม่าถึง 3 ครั้ง อย่างไรก็ตามในช่วง 3 ปีจากนี้ไปจึงเป็นโอกาสทองและปีที่ท้าทายของนักลงทุนจากทุกชาติที่เข้าแสวงหาธุรกิจ หากไม่ลงมืออนาคตจะไม่มีที่ยืนในพม่าแน่นอน
ขณะนี้ มีกรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค, ระดับอาเซียน, มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่พัฒนาร่วมกัน เช่น ระบบโลจิสติกส์ ซึ่งมีความได้เปรียบจากหลายชาติ ส่วนอุปสรรคสำคัญในการทำธุรกิจในพม่าก็คือ 1.ขาดข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน 2.ต้นทุนผู้ประกอบการสูงมากโดยเฉพาะในรอบ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา เช่น ราคาที่ดินสูงกว่าย่านสีลม หรือ ค่าครองชีพในย่างกุ้งสูงที่สุดในโลก ดังนั้นทุกคนต้องหาพันธมิตร และ 3.กฎระเบียบต่าง ๆ อยู่ในช่วงเริ่มต้นคงต้องใช้เวลาพัฒนา
ทั้งนี้ ได้สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศของธนาคารกรุงไทย ที่เน้นการขยายเครือข่ายตามการขยายธุรกิจการค้าการลงทุนของลูกค้านับตั้งแต่เปิดสาขาต่างประเทศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัจจุบันธนาคารได้พัฒนาและขยายเครือข่ายสาขาต่างประเทศจนแข็งแกร่งมั่นคงในภูมิภาคอาเซียนและจีนตอนใต้ รวมทั้งขยายเครือข่ายในประเทศตามแนวตะเข็บชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และจีนตอนใต้เพื่อเชื่อมโยงการค้า
ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยมีเครือข่ายต่างประเทศรวม 9 แห่ง คือ สาขาคุนหมิง, สาขาเคย์แมน, สาขาเวียงจันทน์, สาขาพนมเปญและเสียมเรียบ, สาขามุมไบ, สาขาลอสแอนเจลิส, สาขาสิงคโปร์ และล่าสุดเปิดสำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง ประเทศพม่า
นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวภายหลังเปิดสำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง ว่าเป็นการเตรียมพร้อมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยการขยายเครือข่ายสาขาต่างประเทศและสำนักผู้แทน รวมทั้งพันธมิตรในประเทศแถบอาเซียน โดยเฉพาะอินโดจีน เพื่อให้ธนาคารเป็น “ควอลิฟาย อาเซียน แบงก์” ของไทยที่ดีที่สุดที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการและนักลงทุนระหว่างไทยกับประเทศในอาเซียน
“การเปิดสำนักงานผู้แทนในย่างกุ้งเน้นให้คำปรึกษาบริการทางการเงิน และสื่อกลางในการจับคู่ทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทยและต่างชาติที่เข้าไปลงทุน เนื่องจากพม่ากำลังก้าวกระโดดเข้าสู่เศรษฐกิจแบบเปิด ทำให้ต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนมากที่สุด คาดว่าทางรัฐบาลพม่าจะเปิดให้ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติขยับฐานะเป็นสาขาเต็มรูปแบบและธนาคารจะสามารถให้บริการแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทยในพม่าเต็มที่ ผมหวังว่าภายใน 5 ปีน่าจะสำเร็จ”
นโยบายของธนาคารมุ่งเน้นการเติบโตที่มั่นคง มีกำไรด้วยคุณภาพ การสนับสนุนการเข้าสู่เออีซีด้วยความระมัดระวัง และการเป็นธนาคารที่ดีได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า นั่นคือ มิติใหม่ที่ธนาคารกรุงไทยกำลังเดิน
ที่มา : dailynews.co.th
เมียนมาร์ หรือพม่า กลายเป็นขุมทองของนักธุรกิจ นักลงทุนจากต่างประเทศที่กำลังแห่เข้าไปศึกษาลู่ทางภายหลังจากการเปิดประเทศครั้งแรก รวมทั้งเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2555 มีการขยายตัวสูงถึง 6.4% แล้ว คาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงระดับ 6.6% เนื่องจากการเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานจากต่างชาติ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างการท่องเที่ยว ก่อสร้าง และพาณิชยกรรม
สำหรับเงินลงทุนจากต่างประเทศในปี 2554 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจพลังงานและการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 84,000 ล้านบาท ขณะที่ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างมากหลังการเลือกตั้งภายในประเทศในปี 2553 เพราะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2554 เพิ่มขึ้น 26%
นอกจากนี้รัฐบาลพม่าจะเร่งดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาประเทศ เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายในตะนาวศรี เป็นการร่วมทุนกับบริษัทเอกชนไทย, โครงการท่อส่งก๊าซและน้ำมันจากเมืองเจียวเพียว และโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและคลังเก็บน้ำมันดิบ, โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชิตตะเว่
ด้านตลาดส่งออกนั้นประเทศไทยเป็นตลาดอันดับ 1 มีสัดส่วน 42.3% ของการส่งออกทั้งหมด ตามด้วยจีน อินเดีย ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ แต่การนำเข้าจากประเทศจีนสูงสุด 29.1% ตามด้วยสิงคโปร์, ญี่ปุ่น และไทย อย่างไรก็ตามการค้าระหว่างไทยกับพม่าเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากไทยนำเข้าเชื้อเพลิงและพลังงานถึง 92% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งหมด
ดังนั้น โอกาสทางการค้าและการลงทุนจึงเปิดกว้างโดยเฉพาะสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าเครื่องจักรกลการเกษตร อาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมรับประทานและเครื่องดื่ม รถยนต์และชิ้นส่วน อะไหล่ วัสดุก่อสร้างและเครื่อง จักรกลที่เติบโตตามการพัฒนา เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวที่กำลังบูมมาก
นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง กล่าวว่า การเยือนประเทศไทยเป็นชาติแรกของนางออง ซาน ซูจี เมื่อปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าพม่าให้ความสำคัญกับประเทศไทย หรือในรอบ 8 เดือน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เดินทางไปเยือนพม่าถึง 3 ครั้ง อย่างไรก็ตามในช่วง 3 ปีจากนี้ไปจึงเป็นโอกาสทองและปีที่ท้าทายของนักลงทุนจากทุกชาติที่เข้าแสวงหาธุรกิจ หากไม่ลงมืออนาคตจะไม่มีที่ยืนในพม่าแน่นอน
ขณะนี้ มีกรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค, ระดับอาเซียน, มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่พัฒนาร่วมกัน เช่น ระบบโลจิสติกส์ ซึ่งมีความได้เปรียบจากหลายชาติ ส่วนอุปสรรคสำคัญในการทำธุรกิจในพม่าก็คือ 1.ขาดข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุน 2.ต้นทุนผู้ประกอบการสูงมากโดยเฉพาะในรอบ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา เช่น ราคาที่ดินสูงกว่าย่านสีลม หรือ ค่าครองชีพในย่างกุ้งสูงที่สุดในโลก ดังนั้นทุกคนต้องหาพันธมิตร และ 3.กฎระเบียบต่าง ๆ อยู่ในช่วงเริ่มต้นคงต้องใช้เวลาพัฒนา
ทั้งนี้ ได้สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศของธนาคารกรุงไทย ที่เน้นการขยายเครือข่ายตามการขยายธุรกิจการค้าการลงทุนของลูกค้านับตั้งแต่เปิดสาขาต่างประเทศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะปัจจุบันธนาคารได้พัฒนาและขยายเครือข่ายสาขาต่างประเทศจนแข็งแกร่งมั่นคงในภูมิภาคอาเซียนและจีนตอนใต้ รวมทั้งขยายเครือข่ายในประเทศตามแนวตะเข็บชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และจีนตอนใต้เพื่อเชื่อมโยงการค้า
ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยมีเครือข่ายต่างประเทศรวม 9 แห่ง คือ สาขาคุนหมิง, สาขาเคย์แมน, สาขาเวียงจันทน์, สาขาพนมเปญและเสียมเรียบ, สาขามุมไบ, สาขาลอสแอนเจลิส, สาขาสิงคโปร์ และล่าสุดเปิดสำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง ประเทศพม่า
นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวภายหลังเปิดสำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง ว่าเป็นการเตรียมพร้อมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยการขยายเครือข่ายสาขาต่างประเทศและสำนักผู้แทน รวมทั้งพันธมิตรในประเทศแถบอาเซียน โดยเฉพาะอินโดจีน เพื่อให้ธนาคารเป็น “ควอลิฟาย อาเซียน แบงก์” ของไทยที่ดีที่สุดที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการและนักลงทุนระหว่างไทยกับประเทศในอาเซียน
“การเปิดสำนักงานผู้แทนในย่างกุ้งเน้นให้คำปรึกษาบริการทางการเงิน และสื่อกลางในการจับคู่ทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทยและต่างชาติที่เข้าไปลงทุน เนื่องจากพม่ากำลังก้าวกระโดดเข้าสู่เศรษฐกิจแบบเปิด ทำให้ต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนมากที่สุด คาดว่าทางรัฐบาลพม่าจะเปิดให้ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติขยับฐานะเป็นสาขาเต็มรูปแบบและธนาคารจะสามารถให้บริการแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทยในพม่าเต็มที่ ผมหวังว่าภายใน 5 ปีน่าจะสำเร็จ”
นโยบายของธนาคารมุ่งเน้นการเติบโตที่มั่นคง มีกำไรด้วยคุณภาพ การสนับสนุนการเข้าสู่เออีซีด้วยความระมัดระวัง และการเป็นธนาคารที่ดีได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า นั่นคือ มิติใหม่ที่ธนาคารกรุงไทยกำลังเดิน
ที่มา : dailynews.co.th