รูปภาพแจ้งข่าว ทางเว็บบอร์ด openerpthailand.org ได้เปลี่ยนระบบเว็บบอร์ด ใหม่เป็น phpBB 3.1
  1. บุคคลทั่วไป จะไม่สามารถเข้าอ่านกระทู้บางบอร์ด แนะนำให้ท่าน สมัครสมาชิกคลิกตามลิงค์นี้
  2. สมาชิกใหม่ ถ้ายังไม่ได้แนะนำตัวจะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ และ ดาวน์โหลด ไฟล์จากเว็บบอร์ดได้ ท่านจำเป็นต้องแนะนำตัวที่หมวดนี้
  3. ถ้ามีปัญหาการใช้งาน หรือ ข้อเสนอแนะใดๆ แนะนำได้ที่นี่
  4. ปุ่มรูปหัวใจใต้โพส แต่ละโพส ท่านสามารถกดเพื่อสื่อถึงคนโพสนั้นถูกใจท่าน
  5. ห้ามลง E-mail, เบอร์โทรส่วนตัว, Line id หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแอบอ้างและโฆษณาแฝง โดยสามารถติดต่อสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบ PM ของบอร์ด
  6. ท่านสามารถปิดการแจ้งนี้ได้ ที่มุมขวาของกล่องข้อความนี้

บุคคลทั่วไปสามาเข้าสู่ระบบ ด้วย Account ของ FaceBook ได้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลย

OpenERP กับธุรกิจผลิต แบบนี้...BOM เปลี่ยนตลอด ต้องทำอย่างไรดี

พูดคุยเรื่องเริ่มต้นการนำ Odoo / OpenERP ไปใช้ การเตรียม ตัว สอบถามความเสมาะ สมใน งานที่มีอยู่กับการจะนำ ระบบ ERP มาใช้งาน
ntnw
โพสต์: 112
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 25 ก.ค. 2014 10:20 am

OpenERP กับธุรกิจผลิต แบบนี้...BOM เปลี่ยนตลอด ต้องทำอย่างไรดี

โพสต์โดย ntnw » เสาร์ 31 ม.ค. 2015 10:04 am

คำถาม/ปัญหา/แนวทางแก้ จะอยู่ล่าง ๆ อยากให้อ่าน Process ให้จบอย่างเข้าใจก่อนครับ

ธุรกิจการผลิตค่อนไม่ยากแต่ BOM ยาก ปกติ ERP ตัวอื่น ๆ ก็ทำไม่ค่อยจะได้อยู่แล้ว เท่าที่ศึกษามาเห็นมี SAP ที่มี Module “BOM Variant” ที่น่าจะใช้ได้ ธุรกิจประมาณนี้ครับ

ผลิต แผ่น Plate ติดท้ายเครื่องเล่น DVD และอื่น ๆ โดยมี

1. Product แยกตามชนิดของวัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น Plastic / Sticker/กระดาษ/อื่น ๆ อีกมากมาย โดยกำหนดราคาขายตาม ตารางเมตร ที่ขาย + ราคาตามขั้นตอนการผลิต
1.1. Product A : Plastic ราคาขาย 50 บาท/ตารางเมตร
1.2. Product B : Sticker ราคาขาย 30 บาท/ตารางเมตร
1.3. Product C: กระดาษ ราคาขาย 10 บาท/ตารางเมตร

2. การผลิต จะแยกตามขั้นตอนการผลิต เช่น ตัด / เจาะ /พิมพ์ โดยแต่ละขั้นตอนก็มีการราคาของการผลิตแต่ละขั้นตอน
2.1. Cutting : คิดราคาเป็น เมตรตามความยาวรอบรูป แยกตาม Product
2.1.1. Product A: ค่าตัด 10 บาท ต่อ เมตร
2.1.2. Product B : ค่าตัด 5 บาท ต่อเมตร
2.1.3. Product C: ค่าตัด 2 บาท ต่อเมตร
2.2. Punching : คิดค่าเจาะ เป็นต่อ รูตามขนาดรู และ Product
2.2.1. Product A
2.2.1.1. เจาะรูขนาด <5 มม ราคา 3 บาทต่อรู
2.2.1.2. เจาะรูขนาด <5-10 มม ราคา 10 บาทต่อรู
2.2.1.3. อื่น ๆๆๆ
2.2.2. Product B
2.2.2.1. ……
2.2.2.2. ……

2.3. ค่าพิพม์ : คิดราคาค่าพิมพ์ ต่อ ตาราง เมตร วิธีคิด เหมืนอข้ออื่น ๆ คือแยกตาม Product

วิธีการเปิดงานขาย
พนักงานขายจะรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า เป็น แบบที่ใช้ในการผลิตมาและทำการเปิด SO ดังนี้

1. เลือก Product  ใส่ขนาดตามแบบ  คำนวนราคาออกมาเป็น ราคาขายค่าวัตถุดิบตาม Product เช่น
1.1. Product A ขนาด 0.5 x 1 เมตร ราคาขาย = 25 บาท

2. ใส่ขั้นตอนการผลิตตามแบบลูกค่า เช่น จากข้อ 1.1
2.1. ตัด ขนาด 0.5 x 1 เมตร ราคาขาย = 30 บาท (เส้นรอบรูปการตัด = (0.5x2+1*2 = 3 เมตร))
2.2. เจาะ ขนาด 3 มม จำนวน 3 รู ราคา = 9 บาท
2.3. เจาะขนาด 6 มม จำนวน 2 รู ราคา = 20 บาท

3. ***อื่น ๆ

แนวทางการ Setup
1. สร้าง Product ตามข้อ 1 ชื่อ A,B,C เป็น Stockable Product

2. สร้าง Product ตาม ขั้นตอนการผลิต เป็น Service

3. Sale Order Form เพิ่ม Customs Field ชื่อ (x_W และ x_H) เพื่อรับค่าขนาด แล้วนำไปคำนวนราคา

4. เปิด SO โดยเลือก Product แล้วใส่ขนาดตามแบบ == ได้ราคาขายของ Product
4.1. ใส่ BOM ในขั้นตอนการเปิด SO เพื่อเลือก Product (Service) มาผูก และคำนวนราคา

ปัญหา..
OpenERP ไม่มี Module Bom Variant เพื่อให้สามารถเลือก Service ตามแบบของลูกค้าได้ในขั้นตอนการเปิด SO ส่วนตัว Product Vaiant Multi มันจะสร้าง Product จริงออกมาเลย ซึ่ง จะทำให้ Product เยอะมากๆ จึงคิดว่าไม่น่าจะใช่ทางเลือก

แนวทางการแก้ปัญหา
1. สร้าง Table Order_Line_Bom ขึ้นมากโดยมี Field ประมาณนี้ เพื่อเตรียมรับค่า
a. SO_ID
b. Line_ID
c. Product_ID
d. Qty
e. Unit

2. สร้าง Form ขึ้นมา เพื่อ ใส่ค่าต่าง ๆ เข้าไปในตาราง Order_Line_BOM
a. รับค่า SO_ID และ Line_ID จาก Form หลักที่เปิด Order (สร้าง Link เพื่อเปิด Form และส่งค่าไป)
b. ค่าอื่น ๆ พนักงานขายกรอกเข้าไป
c. Save กลับสู่หน้า Sale Order หลัก

คำถาม
1. แนวทางแก้ปัญหานี้ มีความเป็นไปได้หรือไม่
2. มีแนวทางอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่
3. ใครเคยเห็นหรือมี Module BOM Variant หรือไม่ เพื่อจะได้ใช้ได้เลย ไม่ต้องเขียน Module ขึ้นมา :D


จริง ๆแล้วยังมีปัญหาอื่น ๆ อีก เช่นการตัด Stock วัตถุดิบ ที่ขนาด ใหญ่กว่า Product จะต้องมีการ คำนวณว่าจะใช้วัตถุดิบเท่าไร เนื่องจาก หน่วยที่ใช้ตัด ของ Product กับ Stock ไม่เท่ากัน เช่น Plastic Stock มีขนาด 2.44 x 3.66 เมตร จะสามารถนำมาตัด Product A ขนาด 1.0 x 1.0 เมตร ได้ 6 ชิ้น ในเบื้องต้น จะใช้การตัด Stock แบบ Move Manual ก่อน

ยาวเลยขอบคุณครับ ที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

กระทู้นี้มีโพสต์ทั้งหมด 12 โพสต์รอการเปิดอ่านจากคุณ

คุณจำเป็นต้องเป็น สมาชิกและล็อคอินเข้าสู่ระบบ ถึงจะสามารถอ่านโพสต์ที่เหลือและตอบกระทู้นี้ได้.
(คลิกปุ่มด้านล่างเพื่อ สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบถ้าเป็นสมาชิกอยู่แล้ว หรือ เข้าสู่ระบบด้วย Account ของ Facebook ก็ได้นะ


สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
 

ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 21 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน